การพัฒนาระบบการประเมินสภาพผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะแรกรับเข้ารักษาและการพยาบาลในแผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุ โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สิรินลักษณ์ พาบุ โรงพยาบาลเพ็ญ

คำสำคัญ:

Initial Assessing, Traumatic Head Injury

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินผลลัพธ์ระบบการประเมินสภาพผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะแรกรับเข้ารับการรักษา   

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Mutual collaborative action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะในระยะศึกษาสถานการณ์ 10 คน และระยะพัฒนาระบบบริการ 20 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติงาน การประเมินสภาพผู้ป่วยและแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย : (1) พบปัญหาด้านบุคลากรผู้ให้บริการและด้านระบบบริการ/อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร (2) พัฒนาระบบการประเมินสภาพผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะแรกรับเข้ารักษา โดยดำเนินการพัฒนาเป็น 2 วงรอบ ได้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลประกอบด้วย 9 หมวด ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 93.3 และ (3) ผลลัพธ์การพัฒนาพบว่า ผู้ป่วยมีระดับคะแนนกลาสโกว์เมื่อแรกรับ 13-15 คะแนน (95.0%) และเมื่อจำหน่าย 13-15 คะแนน (95.0%) ถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะ (80.0%) ผลปกติ (75.0%) การวินิจฉัยเป็น mild traumatic brain injury (95.0%) แต่มี severe traumatic brain injury (5.0%) และผู้ป่วยการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลเพียง 60.0%

สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยครั้งนี้ส่งให้ผู้ป่วยได้รับที่บาดเจ็บที่ศีรษะได้รับการประเมินสภาพแรกรับที่ถูกต้องจึงเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลให้เกิดความปลอดภัย และทันเวลา

References

ภัทรรัช เทศถนอม. ความปลอดภัยของผู้ป่วยกับวิกฤติความแออัดในหน่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2561;4(2):237-49.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2559.

นครชัย เผื่อนปฐม, ธีระเดช ศรีกิจวิไลกุล. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ (Clinical practice guidelines for traumatic brain injury). นนทบุรี : บริษัท พรอสเพอรัสพลัสจำกัด; 2562.

Jennett B, Murray A, Carlin J, McKean M, MacMillan R, Strang I. Head injuries in three Scottish neurosurgical units. Scottish head injury management study. Br Med J. 1979;2(6196):955-8.

Menon D K, Schwab K, Wright D W, Maas A I, Demographics, Clinical Assessment Working Group of the I, et al. Position statement: definition of traumatic brain injury. Arch Phys MedRehabil. 2010;91(11):1637-40.

World Health Organization. Report on Global Status Report on Road Safety. Geneva: WHO; 2018.

โรงพยาบาลเพ็ญ. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขเครือข่ายสุขภาพอำเภอเพ็ญ. โรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี; 2565.

Nebehay S. Going into hospital far riskier than flying: World Health Organization (WHO) [Internet]. Reuters; 2011 [cited 2022 Sep 1]. Available from: http://www.reuters.com/article/us-safety/going-into-hospital-far-riskier-than-flying-who-idUSTRE76K45R20110721

วิศิษฏ์ ตั้งนภากร. ดีบริการทางการแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 26 สิงหาคม 2565].เข้าถึงได้จาก: http://r6maritimepublichealth.ore/archive/document/download?url=0142ae8ZG9jdW1lbnRsaWJyYXJ5L2ZFc2RTMU4xeDWTVpaRWppOUQ1WDM963D&filename=0142ae8NWRkNzlkNmJjNmNIZY3NJI5NWJIZTC5YTVhZIZjMDEucmFy

ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, ศุภสิทธิ์ พรรณรุโณทัย, วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. ภาวะที่ไม่ฟังประสงค์ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลในประเทศไทย (การศึกษานำร่อง). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2546.

กลุ่มงานคดีทางการแพทย์ กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติคดีทางการแพทย์. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.legal.moph.go.th/index.php?option=com_remository&ltemid=814&func=fileinfo&id=472

ประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล. (2557). คุณธรรมและกฎหมายกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล เอกสารประกอบการบรรยายในการประชุมวิชาการสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมป์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะต้านจรรยาบรรณ จริยธรรม และกฎหมายของพยาบาลวิชาชีพ วันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2557 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ รัชดา กรุงเทพฯ.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

จันทิมา พรเธนศวรพงศ์, เพ็ญศรี ลออ, กวินทร์นาฎ บุญชู. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. 2558;26(2):89-102.

รุจีพร เพ็ญศรี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(3):83-96.

วัลลภา สุวรรณพิทักษ์, สุชาตา วิภวกานต์, บุญญารัศม์ ประคีตวาทิน. การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บไม่รุนแรง โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(2):140-56.

สุนิดา อรรถอนุชิต, วิภา แช่เชี้ย, ประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินสภาพแรกรับของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2553;2(2):19-28.

จุลินทร ศรีโพนทัน. การพัฒนาแผนการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2553;7(2):10-7.

ไคลศรี บาดาล. การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระดับเล็กน้อยที่เข้ารับการรักษาในห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-11 — Updated on 2024-01-11

Versions