การพัฒนาระบบการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลธวัชบุรี
คำสำคัญ:
ระบบการดูแล, ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหา พัฒนาระบบ และประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลธวัชบุรี
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research : AR)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นแพทย์ พยาบาลวิชาชีพและผู้ที่เกี่ยวข้อง 40 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มารับริการที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉินตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566 จำนวน 144 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : 1) การศึกษาสภาพปัญหาพบว่า ปัญหาทั้งด้านบุคลากร กระบวนการ และผู้ป่วยรับบริการ 2) แนวทางแก้ไขประกอบด้วย (1) พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล (CPG) (2) พัฒนาทักษะการประเมินอาการโดยใช้แบบประเมิน q-SOFA (3) คัดแยกประเภทผู้ป่วย (4) การรายงานแพทย์แบบ SBAR (5) การจัดหาวัสดุและครุภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็น และ (6) การติดตามนิเทศประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด และ 3) ผลการพัฒนา พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมารับบริการเพิ่มขึ้น การประเมินผู้ป่วยและวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์ด้านคุณภาพการพยาบาล พบว่าการคัดแยกประเภทผู้ป่วยผิดพลาด (Under triage) ลดลง อาการทรุดลงส่งต่อหลัง admitted ภายใน 2 ชม.ลดลง และไม่พบผู้ป่วยผู้ป่วยเสียชีวิต
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรนำระบบนี้มาใช้ในหน่วยงาน
References
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และผลงาน; 2563.
อังคณา เกียรติมานะโรนจ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2564;5(9):27-43.
Boonmee P, Ruangsomboon O, Limsuwat C, Chakorn T. Predictors of Mortality in Elderly and Very Elderly Emergency Patients with Sepsis: A Retrospective Study. West J Emerg Med. 2020;21(6):210-18.
ฉวีวรรณ ตีชมวารี. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน สำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่จุดคัดแยก ด่านหน้าโรงพยาบาลธวัชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;3(3):37-48.
พรนภา วงศ์ธรรมดี, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2562;1(1):33-49.
พัชรีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี, สุพัตรา กมลรัตน์. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ; 2561.
แสงสม เพิ่มพุด. การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อค. ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม; 9 - 10 กรกฎาคม 2563; ณ อาคารศูนย์ศึกษาและศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. นครปฐม; 2563:1071-81.
คมกฤช สุทธิฉันท์, มยุรี พิทักษ์ศิลป์, สมจิต พฤกษะริตานนท์. ผลลัพธ์ของการใช้เกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลวเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็วเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจองจังหวัดชิงเทราในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่โรงพยาบาลบางปะกง. บูรพาเวชสาร. 2561;5(1):13-27.
จันทรา กุลแก้ว, จันทร์เพ็ญ สภาพล. ผลการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในแสเลือด.วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร. 2565;3(2):20-9.
ประไพรพรรณ ฉายรัตน์, สุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;35(3):224-31.
สุภาพร เพชรรักษ์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2563;3(2):85-97.
อนุกูล เปล่งปลั่ง. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย [อินเทอร์เน็ต]. ระยอง: โรงพยาบาลระยอง; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rayonghospital.go.th/images/webpage/5310fb9684cdb6.pdf
เยาวภา พงศ์พุ่ม, นัยรัตน์ จันทร์เพ็ง, กุลธร บุญกลาง, ทัศณาวดี รักษ์ชูชื่น, อัจฉรา เจริญผล. พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจากชุมชนสู่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่มีทรัพยากรอย่างจำกัดจังหวัดพัทลุง [อินเทอร์เน็ต].พัทลุง: โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ); 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ptho.moph.go.th/ptvichakarn63/uploads/85777_0702_20200818173845.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-01-12 (3)
- 2024-01-11 (2)
- 2024-01-11 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง