การพัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอส่องดาว (พชอ.) จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ละมัย หลักทอง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอส่องดาว

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจราจรทางถนน, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินผลระบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอส่องดาว (พชอ.) จังหวัดสกลนคร

รูปแบบการวิจัย : วิจัยและพัฒนา (Research and Development design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ (1) การพัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน โดยการทบทวนแนวคิด และทฤษฎี การสำรวจสภาพปัญหา การสร้างและพัฒนาระบบและการให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย (2) การทดลองใช้และประเมินการพัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการเกิดอุบัติเหตุ ดำเนินการเป็นระยะเวลา 12 เดือน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ % difference

ผลการวิจัย : 1) สถานการณ์ปัญหาพบว่า สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้านผู้ขับขี่ สภาพถนน สภาพของยานพาหนะและสภาพแวดล้อม 2) ระบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนมี 5 ขั้น คือ (1) การสร้างเครือข่ายคนทำงาน (2) การจัดการและพัฒนาระบบฐานข้อมูล (3) กำหนดเป้าหมายและวางแผนปฏิบัติการ (4) การปฏิบัติตามแผน (5) การประเมินผลแบบมีส่วนร่วม และ  3) หลังการพัฒนาสภาพการจัดการความปลอดภัยทางถนนทั้งหมด 10 ด้าน โดยรวมเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 6.27 และในปี พ.ศ.2566 มีจำนวนอุบัติเหตุเกิด 431 ครั้ง ลดลงจากปี พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 2.75 ผู้ได้บาดเจ็บ 529 คน ลดลงร้อยละ 0.57 และมีผู้เสียชีวิต 6 คน ลดลง คิดเป็นร้อยละ 13.33 ตามลำดับ 

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้การเกิดอุบัติเหตุลดลง ดังนั้น หน่วยที่เกี่ยวข้องควรนำระบบนี้ไปใช้

References

World Health Organization. Global Status Report on Road Safety 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.

กรมควบคุมโรค. จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลเปรียบเทียบ IPD และ OPD ปี พ.ศ.2560. เอกสารเผยแพร่ของกรมควบคุมโรค; 2561.

อำนวย บุญรัตนไมตรี, วัฒนา นนทชิต, นิพนธ์ ไตรสรณะกุล, ธณกฤษ งามมีศรี. กระบวนทัศน์การจัดการความปลอดภัยทางถนน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 2560;7(1):28-39.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอส่องดาว. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สกลนคร; 2565.

อัฌษไธค์ รันตนดิลก ณ ภูเก็ต. อุบัติเหตุทางถนน [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565] สืบค้นจาก: http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9570000004426.

มาเรียม นิลพันธุ์, มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

จตุภพ ดิษผล, อัญสุรีย์ ศิริโสภณ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนในเขตอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี: การวิเคราะห์ MIMIC model. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2564;27:101-12.

สมบูรณ์ จิตต์พิมาย. ผลการจัดการด่านชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2564;7:237-55.

วิศว์ รัตนโชติ, สันติภาพ ศิริยงค์. ระบบบริหารงานวิศวกรรมความปลอดภัยทางถนนกับการแก้ไขจุดอันตราย: กรณีศึกษาทางต่างระดับเชื่อมต่อถนนนครอินทร์กับถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก. สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท; 2551.

สุภาภรณ์ บุญสงค์. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมคู่หูความปลอดภัยต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่และการลดอุบัติการณ์ทางถนนของพนักงานขับรถพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-08 — Updated on 2024-01-08

Versions