ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • รัชดาพร ชื่นชม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • กัญญาณัฐ เกิดชื่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, การระงับความรู้สึก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ภาวะอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ยในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดก่อนและหลังได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ความพึงพอใจผู้ป่วยหลังให้ยาระงับความรู้สึก และความพึงพอใจพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลการระงับความรู้สึกในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง (One group pre-post test)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นวิสัญญีพยาบาล 15 คน และผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึก แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired sample t–test

ผลการวิจัย : หลังการทดลองพบว่าผู้ป่วยที่ผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ภาวะอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและค่าความดันเลือดแดงเฉลี่ยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกสูงกว่าก่อนได้รับการระงับความรู้สึก (p<.001) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.54, SD.=0.72) และความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลการระงับความรู้สึกในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=2.74, SD.=0.55) และหลังผ่าตัดผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการระงับความรู้สึกในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่สร้างขึ้น ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ผู้ป่วยและวิสัญญีพยาบาลเกิดความพึงพอใจ

References

อังกาบ ปราการรัตน์. ตำราวิสัญญีวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ; เอพลัสพริ้น; 2556.

ศิวพันธ์ ยุทธแสน, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, เกษรา ธิเขียว. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะวิกฤต : การนำผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติทางคลินิก. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2564;13(2):452-63.

ศศิยา ศิริรัตนวรางกูร. ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วิสัญญีสาร. 2563;46:7-14.

Virani S S, Alonso A, Aparicio H J, Benjamin E J, Bittencourt M S, Callaway C W,et al. Heart disease and stroke statistics-2021 update : A report from the American Heart Association. Circulation. 2021;143(8):254–743.

สัญพิชา ศรภิรมย์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิฤตหลังผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(พิเศษ):46-52.

วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, ณัฐณภัทร วัฒนเดชาสกุล, รัชนี ผิวผ่อง, สุวรรณี มงคลรุ่งเรือง .แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ: จากการสังเคราะห์งานวิจัยสู่การนำไปปฏิบัติ. วารสาร มฉก. วิชาการ. 2559;20(39):143-56.

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ; องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

ยุพิน บุญปถัมภ์, อรุณีย์ ไชยชมภู, อุบลรัตน์ ชุ่มมะโน, ปรารถนา วุฒิชมภู, วีนา วงค์งาม. การพัฒนารูปแบบการดูแลและระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดทรวงอก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร. 2564;13:1-21.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Lawrence; Erlbaum Associates Inc; 1988.

Polit D F, Beck C T. Nursing research generating and assessing evidence for nursing practice (8 ed.). Lippincott Williams & Wilkins; 2008.

Wright B D, Masters G N. Rating scale analysis. Chicago; MESA Press; 1982.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

Soukup M. The center of advanced nursing practice evidence-based practice model. Nursing Clinic of North America. 2000;35:301-9.

อัชฌาณัฐ วังโสม, อุษา วงษ์อนันต์, ประไพ ผลอิน, อาภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 2564;10(2):10-22.

นงเยาว์ ธราวรรณ, ยุพาพร หงส์สามสิบเจ็ด, มิ่งสกุล แดนโพธิ์. ผลของการป้องกันภาวะความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ (Desaturation) ในผู้ป่วยหลังให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2564;29:39-49.

สยาม ทวีสมบัติ, กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, อัญชลี สุวรรณศิริเจริญ. ผลของการให้ข้อมูลก่อนและหลังผ่าตัดต่อคุณภาพชีวิตและความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564;32

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-08 — Updated on 2024-01-08

Versions