การพัฒนารูปแบบการนำมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน ขนาด F2 จังหวัดร้อยเอ็ด สู่การปฏิบัติ
คำสำคัญ:
มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหา พัฒนารูปแบบและประเมินผลการนำมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชนขนาด F2 จังหวัดร้อยเอ็ด สู่การปฏิบัติ
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 42 คน ผู้รับบริการจำนวน 314 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะคือ ระยะศึกษาสถานการณ์ ระยะออกแบบระบบ ระยะดำเนินการพัฒนา และระยะประเมินผล รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ PNI Modified ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับสภาพปัจจุบันและระดับสภาพที่คาดหวังในการปฏิบัติตามมาตรฐานการสร้างเสริมสุขภาพในระดับความจำเป็นสูงสุด ค่า PNIModified=0.200 รองลงมาคือ การคุ้มครองภาวะสุขภาพ PNIModified=0.176 และการให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ PNIModified=0.134 ตามลำดับรูปแบบการพัฒนาประกอบด้วย 1) การสำรวจและวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 3) การค้นหาปัญหาและวางแผนพัฒนา 4) การประเมินผลและสรุปถอดบทเรียน หลังการพัฒนาการปฏิบัติตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอกกลุ่มตัวอย่างปฏิบัติตามมาตรฐานได้เพิ่มขึ้นสูงสุด คือการให้ข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพ (7.79%) เมื่อประเมินทัศนคติต่อการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอก พบว่า ด้านผลลัพธ์มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (Mean=4.42, SD.=0.48) และผู้รับบริการมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (73.24%)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลเป็นกลไกที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทั้งบุคคลและระบบงานผลที่ได้จากการพัฒนาจะทำให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่เหมาะสมมีคุณภาพดีขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการดูแลรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานน้อยที่สุด
คำสำคัญ : มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอก
References
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2561.
กรรณิการ์ ชัยนันท์, พัทยา แก้วสาร, บุญทิพย์ ศิริธรังศรี. เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลตามสภาพปัจจุบันและความคาดหวังกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่. วารสารกองการพยาบาล. 2563;47(1):11-24.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ. รายงานการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลจังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ.2565. ร้อยเอ็ด: สสจ.; 2565.
สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
อัจฉราวรรณ นาเมืองจันทร์. การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลขอนแก่น. [รายงานการศึกษาอิสระ]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.
สำนักการพยาบาล. การประกันคุณภาพการพยาบาล: การประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลผู้ป่วยนอก. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ); 2554.
ศรีวรรณ ศรีบุญเรือง, ทรียาพรรณ สุภามณี, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาลของพยาบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. พยาบาลสาร. 2559;43(ฉบับพิเศษ):140-50.
ศศิธร แสนศักดิ์. การใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลขอนแก่น [รายงานการศึกษาอิสระ].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.
สุภาวดี จินตวรณ์. มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัดโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 2563;6(1):91-107.
จีรวัฒน์ เก้ารัตน์, จริยา บุญปั๋น. ประสิทธิผลของการจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้รับบริการที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะรอตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสอง อําเภอสอง จังหวัดแพร่. Journal of the Phrae Hospital. 2559;24(1-2):63-9.
วิสาร์กร มดทอง, พรรณนิภา รักพาณิชย์, อุรชา อําไพพิศ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยห้องตรวจอายุรกรรมงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(6):1,043-50.
วรกิจ ศรีผดุงอำไพ. การปรับพฤติกรรมบริการและการประเมินผลลัพธ์การให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2552;5(1):75-83.
ชำนาญ ชูรัตน์ประสิทธิผลการให้บริการของโรงพยาบาลพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. Journal of Administrative and Management. 2561;6(2):16-24.
พัชราภรณ์ สิณัตพัฒนะศุข, ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 265;31(1):154-63.
จินตนา ศรีสร้างคอม, อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล. การพัฒนาและประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติการบริการทางการพยาบาลในยุค New Normal แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2566;7(13):109-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-01-05 (2)
- 2024-01-05 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง