การพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • รัตน์สุดา จิตระวัง โรงพยาบาลนาคู

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงโดย   การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็น 1) ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน 55 คน 2) ญาติ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน 70 คน และ 3) ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ 70 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มเก็บข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 - เดือน มิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Sample t- test

ผลการวิจัย : หลังการพัฒนากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลสุขภาพตามแนวทาง 3อ2ส. ในชุมชนมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเป็น 2.52 คะแนน (95%CI=1.67-3.33) และมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของของผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในชุมชนมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.10 คะแนน (95%CI=1.01-1.17)

สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้น

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานผลการดำเดินงานตามเกณฑ์ตัวชี้วัดสุขภาพประจำปี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. กาฬสินธุ์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

โรงพยาบาลนาคู. รายงานผลการดำเดินงานตามเกณฑ์ตัวชี้วัด Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อประจำปี 2564. [อินเทอร์เน็ต]. กาฬสินธุ์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59 e64c4e6c92d4b1 ec16a599d882b

วรรัตน์ มากเทพพงษ์, อนุสรณ์ แน่นอุดร, ปุณรดา พวงสมัย. การพัฒนารูปแบบบทบาทครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2565;33:101-16.

กรวิกา พรมจวง, เกียรติศักดิ์ แซ่อิว, สิตานันท์ จันทร์โต. ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564;32:233-46.

จันทนา เสวกวรรณ, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2562;33:152-70.

Kemmis, McTaggart R. The Action research planner, 3rd ed. Geelong: Deakin University, Australia; 1988.

Bloom B S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

Best J W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1977.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2545.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-05 — Updated on 2024-01-05

Versions