ความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสควันบุหรี่มือสองในบ้าน และการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

ผู้แต่ง

  • สุรศิษฏ์ โล้เจริญรัตน์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

คำสำคัญ:

ควันบุหรี่มือสอง, โรคระบบทางเดินหายใจ, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการสัมผัสควันบุหรี่มือสองในบ้านและการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ พ่อ แม่ หรือผู้ดูแล และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน 2566 ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 90 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และแบบสอบถามข้อมูลการสัมผัสควันบุหรี่มือสองในบ้านของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.84 และ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ สถิติไคสแควร์

ผลการศึกษา : การเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความสัมพันธ์กับการสัมผัสควันบุหรี่มือสอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (=18.42, p<.001)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรนำผลวิจัยที่ได้ไปนำไปใช้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานเสนอแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไข และป้องกันการเกิดการเจ็บป่วยของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กในวัยอื่นๆจากการสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง

References

World Health Organization. WHO report on the global tobacco epidemic 2021: addressing new and emerging products. Switzerland: World Health Organization; 2021.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด; 2565.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ในบุหรี่มีสารพิษอะไรบ้าง. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/3915787.html

World Health Organization. Global report on trends in prevalence of tobacco use 2000–2025. 3rd ed. Geneva: World Health Organization; 2019.

มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง; 2562.

วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. ความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสควันบุหรี่มือสองในบ้านและการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2556; 6(2):113-23.

เนาวรัตน์ เจริญค้า. โรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบกับการสัมผัสควันบุหรี่มือสอง. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 มกราคม 2566] เข้าถึงได้จากhttps://www.ashthailand.or.th/uploads/ckfiles/1657261966

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม. งานสุขศึกษา. ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรในจังหวัดอุบลราชธานีโซน 4 ปี 2565. อุบลราชธานี: โรงพยาบาล; 2565.

สุนิดา ปรีชาวงษ์. ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในประชากรวัยผู้ใหญ่: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ.วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556;24:16-30.

World Health Organization. It’s time to invest in cessation: the global investment case for tobacco cessation. Methodology and results summary. Geneva: World Health Organization; 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-03 — Updated on 2024-01-05

Versions