ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโดยการจัดการรายกรณี ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นภัสภรณ์ เชิงสะอาด โรงพยาบาลอาจสามารถ
  • วรรณิสา บังลือ โรงพยาบาลอาจสามารถ

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลระยะกลาง, การจัดการรายกรณี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนาประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโดยการจัดการรายกรณี

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ร่วมวิจัยเป็นสหวิชาชีพที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย 40 คน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง 72 คน และผู้ดูแล 68 คน ศึกษาระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบประเมินกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย การสังเกต และบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย : แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง มี 5 ขั้นตอน 1) ประเมินสภาพปัญหาเพื่อจัดการรายกรณี 2) ประสานสหวิชาชีพร่วมดูแลและวางแผนจำหน่าย 3) ดูแลผู้ป่วยและ Training ผู้ดูแล 4) ประเมินความพร้อมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและผู้ดูแล 5) ประสานชุมชนในการดูแลต่อเนื่อง ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยรายกรณีส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามปัญหาเฉพาะของผู้ป่วยและผู้ดูแล ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามบริบทการเจ็บป่วยและความต้องการการดูแลเฉพาะ ผู้ดูแลมีความพร้อมและมั่นใจในการดูแล กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีผู้ดูแลส่งผลให้การวางแผนจำหน่ายไม่สามารถทำได้ ต้องประสานเครือข่ายในการส่งผู้ป่วยเพื่อดูแลต่อเนื่องในชุมชนโดยทำประชาคมร่วมกับ อปท. ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. และ อสม. เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนจำหน่าย และสหวิชาชีพติดตามเยี่ยมทุกเดือนจนครบ Golden periods จากการดูแลผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและปิดเคสได้ (79.17%) มีอาการทรงตัวส่งต่อการดูแลระยะยาว (12.50%) มีอาการแย่ลงและเสียชีวิต (8.33% )

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยที่ไม่มีผู้ดูแลไม่สามารถวางแผนจำหน่ายได้ จากข้อจำกัดของครอบครัว ต้องใช้พลังชุมชนในการร่วมดูแลผู้ป่วยโดยการทำประชาคม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการจำหน่ายผู้ป่วยเพราะต้องรอความพร้อมของชุมชนที่จะรับดูแลผู้ป่วย

References

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/ ?url=pr/detail/all/02/180623

ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์. วันโรคหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก (World Stroke Day). [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/02/180623

พัฒนา เศรษฐวัชราวนิช, วดีรัตน์ ศรีวงศ์วรรณ, ณิชมน หลำรอด, กิตติกาญจน์ ปานแดง. บทบาทของพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการตนเอง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563;21(3):29-37.

สันติ ลาภเบญจกุล. Intermediate Care ดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟูความจำเป็นสังคมผู้สูงวัยของไทย. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: Hfocus; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/17988

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan). สมุทรสาคร: บอร์นทูบี พับลิชชิ่ง; 2562.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ. บทบาทพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคหลอดเลือดสมองแตก : กรณีศึกษาโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. 2563;3:5-18.

อภิญญา จำปามูล. ระบบการจัดการรายกรณีกับการจัดการผลลัพธ์. [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/Admin/Downloads/reader_com_07.pdf

NEMOCARE ROI-ET. รายงานการส่งเยี่ยมรายอำเภอ กลุ่มผู้ป่วย IMC. [อินเตอร์เน็ต]. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.nemocare.net/nemocare_v2/index.php

Holter I M, Schwartz-Barcott D. Action research: What is it? How has it been used and how can it be used in nursing. J Adv Nurs. 1993;18:298-304.

Wu-on, W. System Theory. [Internet]. 2014. [cited 2022 September 30] Available from: https://poundtv5.blogspot.com/2014/10/system-theory.html.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Victoria: Deakin University; 1988.

ดวงกมล สุวรรณ์, วิภา แซ่เซี้ย, ประณีต ส่งวัฒนา. ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์การดูแลในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารสภาการพยาบาล. 2561; 33(4):33-45.

อวยพร จงสกุล, ศิริพร สีสันต์, กัญญา เลี่ยนเครือ, ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563;39(3):454-71.

อุไรวรรณ ทองอร่าม, นิภาวรรณ สามารถกิจ. อิทธิพลของความพร้อมในการดูแล ภาระในการดูแล และรางวัลจากการดูแลต่อการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารกองการพยาบาล. 2562;46(3):88-102.

ศีล เทพบุตร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2563;17(3):112-24.

ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, เพชรไสว ลิ้มตระกูล, สมศักดิ์ เทียมเก่า, จิราพร วรวงศ์, วิฑูรย์ เชื้อสวน และคนอื่นๆ. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในบริบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2558;35(2):93-111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-02 — Updated on 2024-01-05

Versions