การให้คำปรึกษาในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
การให้คำปรึกษา, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการให้คำปรึกษาในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย เพื่อเปรียบเทียบหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่มารับการรักษาที่คลินิกติดเชื้อโรงพยาบาลขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ารซักประวัติผู้ป่วยและครอบครัว การซักประวัติผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินอาการพร้อมแผนการรักษา พร้อมการสังเกตใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลแบบแผนสุขภาพร่วมกับทฤษฎีให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา แนวคิดการให้การปรึกษาแบบยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง แนวคิดการให้การปรึกษาครอบครัวที่เน้นประสบการณ์และมนุษยนิยม เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา
ผลการศึกษา : ผลการเปรียบเทียบผู้ป่วยสองรายสิ่งที่เหมือนกันคือเป็นหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ร่วมกับมีการติดเชื้อเอชไอวี แต่คู่สมรสไม่ติดเชื้อ ผู้ป่วยและครอบครัวมีความวิตกกังวลเรื่องสุขภาพทั้งของผู้ป่วยและบุตรการเลี้ยงดู การแจ้งผลเลือดแก่คู่สมรสรวมและมารดา กลัวความลับถูกเปิดเผยและสังคมรังเกียจ การจัดการตนเองเมื่อเกิดความเครียดผู้ป่วยทั้งสองรายมีความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจต้องการคำปรึกษาและต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้น พยาบาลจึงมีบทบาทในการให้การปรึกษารายบุคคลคู่และรวมทั้งครอบครัว ผลการศึกษาครั้งนี้นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพทีมพร้อมเครือข่ายให้เข้มแข็งเป็นแนวทางในการประเมินและดูแลรักษาในกลุ่มดังกล่าวข้างต้น
สรุปและข้อเสนอแนะ : กรณีศึกษานี้ทำให้เห็นกระบวนการให้คำปรึกษาและดูแลผู้ป่วยอย่างมีขั้นตอน ครอบคลุมเหมาะสมของพยาบาล ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยบุตรคู่สมรสพร้อมครอบครัวได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม
References
ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานความก้าวหน้าของประเทศไทยในการยุติปัญหาเอดส์ ปี พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: หกหนึ่งเจ็ด; 2560.
วิทยา ถิฐาพันธ์, บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์, ธราป โคละทัต. วัยรุ่นตั้งครรภ์และทารกเกิดก่อนกำหนด ปัญหาที่ท้าทาย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง; 2553.
สรุตยา รองเลื่อน, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, สมประสงค์ คิริบริรักษ์. การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในวัยรุ่น : การสำรวจปัญหาและความต้องการสนับสนุนในการรักษาพยาบาล. วารสารพยาบาลคิริราช. 2555;5(1):14-28.
สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย พ .ศ. 2564-2565. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2565.
USAID, Unicef, WHO. คู่มืออ่านประกอบการให้การปรึกษาเพื่อการตรวจเอชไอวีสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่10 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.fhi360.org/sites/default/files/media/documents/The%20HIV%20Counselling%20Handbook%20for%20the%20Asia-Pacific%20%E2%80%93%20Thai%20Edition.pdf
ฉวีวรรณ ค้นพุดซา, ตัญจมาศ ใบพลูทอง, ธนันดา นัยวัฒนกุล, รังสิมา โล่ห์เลขา. แนวทางการจัดระบบบริการในโรงพยาบาลเพื่อส่งเสรีมการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์และสามี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทสไทย; 2557.
จีน แบรี่. การให้การปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์; 2549.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา, วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
ดวงกมล ทองอยู่. แนวทางการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 2557;4(2):179-90.
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง. การให้การปรึกษาครอบครัวสำหรับครูที่ปรึกษา. Veridan-E-Journal, Silpakom University. 2560;10(2):830–43.
วัชรี ทรัพย์มี. กระบวนการปรึกษา: ขั้นตอน สายสัมพันธ์ ทักษะ = The counseling process: stages, rapport, skills. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
สมพงษ์ สกุลอิสริยาภรณ์, ไฉไล เลิศวนางกูร, กัลยรัตน์ กลาถนอม. คู่มือประกอบการอบรม หลักสูตรการให้การปรึกษาแบบคู่เพื่อตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับหญิงตั้งครรภ์และสามี. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554 .
เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี. คู่มือการให้การปรึกษาคู่สมรส. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิส; 2553.
Gordon M. Nursing diagnosis: process and application. New York: MCGraw-Hill. Book Co; 1982.
วิพร เสนารักษ์. การวินิจฉัยการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่12. ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขอนแก่นการพิมพ์, 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง