ผลของโปรแกรมเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยชุมชนต่อการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อ ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอทุ่งเขาหลวง
คำสำคัญ:
การเฝ้าระวัง, ผู้ป่วยจิตเวช, การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอทุ่งเขาหลวง
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 63 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบ Cluster random sampling ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25-0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.38 คะแนน (95%CI: 2.26, 2.50) ; คะแนนเฉลี่ยสิ่งจูงใจให้มีส่วนร่วมมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.22 คะแนน (95%CI: 2.05, 2.37) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการมีส่วนร่วมมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.04 คะแนน (95%CI: 1.91, 2.16)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวควรนำโปรแกรมฯนี้ไปใช้เพื่อเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยจิตเวชต่อไป
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวช ระดับรุนแรง ยุ่งยาก ชับซ้อน (Super Specialist Service: Ss) สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: วิคทอเรียอิมเมจ; 2563.
Aiamsaart N, Thaweeses P, Chumchai P. The effect of case management to overall abilities among Schizophrenia patients with the risk for violence. Journal of Somdet Cha-opraya Institute of Psychiatry 2020;14(1):10-22.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งเขาหลวง. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ปี พ.ศ.2565. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งเขาหลวง; 2565.
มัลลิกา จันทร์เพ็ญ, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2560;31(3):126:40.
Cohen, J. Statistical power analysis for behavioral sciences. 2' ed.). Hillsdale, NJ :Lawrence Erlbaum;1988.
Rosenstock, I. M. Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education Monographs. 1974;2(4):328-35.
อุไรวรรณ เกิดสังข์. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชนเป็นฐาน ที่มีต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2565
เปรมฤดี ดำรักษ์, อังคนา วังทอง, อนุชิต วังทอง. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังซับซ้อน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารสมาคมนักวิจัย. 2557;19(2):92-103.
ปกรณ์ จารักษ์. ประสิทธิผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโรงพยาบาลสร้างคอม อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2551; 2(2):1220-30.
Puspitosari W A, Wardaningsih S, Nanwani S. Improving the quality of life of people with schizophrenia through community based rehabilitation in Yogyakarta Province, Indonesia: A quasi experimental study. Asian journal of psychiatry. 2019;42(2):67-73.
Asher L, Hanlon C, Birhane R, Habtamu A, Eaton J, Weiss H, et al. Community-based rehabilitation intervention for people with schizophrenia in Ethiopia (RISE): a 12 month mixed methods pilot study. BMC Psychiatry 2018;18:250.
Velema J P, Ebenso B, Fuzikawa P L. Evidence for the effectiveness of rehabilitation-in-the-community programmes. Leprosy Review. 2008;79:65-82.
Wang L, Zhou J, Yu X, Qiu J, Wang B. Psychosocial rehabilitation training in the treatment of schizophrenia outpatients: a randomized, psychosocial rehabilitation training-and mono medication-controlled study. Pakistan Journal of Medical Sciences. 2013;29(2):597-600.
Chatterjee S, Patel V, Chatterjee A, Weiss H A. Evaluation of a community- based rehabilitation model for chronic schizophrenia in rural India. The British Journal of Psychiatry. 2003;182:57-62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-12-20 (4)
- 2023-12-13 (3)
- 2023-12-13 (2)
- 2023-12-13 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง