ประสิทธิผลของโปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงต่อความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายสุขภาพอำเภอสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • กมลาภรณ์ ปัญยาง โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง, ความรู้, ทักษะ, เครือข่ายสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายสุขภาพอำเภอสุวรรณภูมิ

รูปแบบการวิจัย :  การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 63 คน เป็นเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในเครือข่ายสุขภาพอำเภอสุวรรณภูมิ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% confidence interval

 ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.47 คะแนน (95%CI: 4.88, 6.06) และคะแนนเฉลี่ยทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.59 คะแนน (95%CI: 4.96, 6.21)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผล ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ในต่อไป

References

American Heart Association. Highlights of the 2015 American Heart Association Guidelines Update for CPR and ECC [Internet].2015 [cited 2023 March 24]. Available from: https://eccguidelines.heart.org/wp content/uploads/2015/10/2015-AHA-Guidelines-HighlightsEnglish.pdf

Rodriguez-Reyes H, Munoz-Gutierrez M, Salas-Pacheco J L. Current behavior of sudden cardiac arrest and sudden death. Archivos de cardiologia de Mexico. 2020;90(2):183-89.

พวงทอง ไกรพิบูล. โรคของหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2555.

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย. หนังสือการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ จำกัด; 2563.

Daya RM, Schmicker HR, Zive MD, Rea DT, Nichol G, Buick EJ, et al. Out-of-hospital cardiac arrest survival improving over time: Results from the Resuscitation Outcomes Consortium (ROC). Resuscitation 2015;91:108-15.

คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สภาแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. คู่มือการช่วยชีวิตขั้นสูง สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ปี ค.ศ. 2015. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทปัญญามิตร การพิมพ์ จำกัด; 2558.

Anderson L W, Holmberg M, Berg K, Donnino M, Grand felt A. (2019). In-hospital cardiac arrest: A review. JAMA. 2019;321(12):1200-10.

Bircher N G , Chan P S, Xu Y. Delays in cardiopulmonary resuscitation, defibrillation, and epinephrine administration all decrease survival in In-hospital cardiac arrest. Anesthesiology. 2019;130(3):414-22.

รัตติกาล เรืองฤทธิ์, ปรียา แก้วพิมล, กิตติพงศ์ เช่งลอยเลื่อน. ความรู้ทักษะและความมั่นใจในสมรรถนะของตนในการช่วยฟื้นคืนชีพชั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (เออีดี:AED) ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2564;13(2):125-41.

Issleib M, Kromer A, Pinnschmidt H O, Suss-Havemann C, Kubitz J C. Virtual reality as a teaching method for resuscitation training in undergraduate first year medical students: a randomized controlled trial. Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine. 2021;29(27):1-9.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชปถัมภ์. คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต. คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (ออีดี:AED) สำหรับประชาชน พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สมาคม; 2561.

ฮิชาม อาแว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะตนเองต่อความสามารถในการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุและในระหว่างการนำส่งของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

บุษบา ประสารอธิคม. การพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560;29(1):128-40.

พรรณี ศรีพารา. ผลของการใช้โปรแกรมการสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความรู้และทักษะของพยาบาลโรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2564;10(1):26-35.

พรพิไล นิยมถิ่น. การพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับทีมกู้ชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2562;22(3):22-30.

Bandura A, Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman And Company; 1997.

Hamilton R. Nurses' knowledge and skill retention following cardiopulmonary resuscitation training: a review of the literature. Journal of Advanced Nursing. 2005;51:288-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13