ผลของการสอนและช่วยจัดท่าให้นมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดต่อระดับความรู้และทักษะ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกคลอด โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, หลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง, การช่วยเหลือในการให้นมบุตรบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังผ่าตัดคลอดในระยะแรก ก่อนและหลังได้รับการสอนและการช่วยเหลือการจัดท่าให้นมบุตร
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง (Pretest - posttest design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอดจำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ และการประเมิน LATCH Score เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t – test
ผลการวิจัย : หลังการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่าก่อนการทดลอง (p<.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 4.10 คะแนน (95%CI: 3.59, 4.61) และมีคะแนนทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่าก่อนการทดลอง (p<.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 0.70 คะแนน (95%CI: 0.64, 0.91)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการสอนและการช่วยเหลือมารดาในการจัดท่าช่วยมารดาหลังผ่าตัดคลอดส่งผลให้มารดามีความรู้และทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นควรนำไปปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานในการดูแลในระยะหลังคลอด
References
นพรัตน์ ธาระณะ. การส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด. พยาบาลสาร. 2564;48(4):324–35.
Ricci SS, Kyle T, Carman S. Maternity and pediatric nursing. 2 nd ed. Lippincott Williams & Wilkins; 2013.
ภิชารีย์ กรุณายาวงศ์, วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย, ภิเศก ลุมพิกานนท์, พิษณุ ขันติพงษ์, ชัยยศ คุณานุสนธิ์. แนวโน้มการผ่าคลอดในไทย เพิ่มสูง: ถึงเวลาต้องพูดคุยอย่างจริงจังแล้วหรือไม่. Policy brief. 2565;10(139):1-4.
ลาวัลย์ ใบมณฑา, มยุรี นิรัตธราดร, สุดาพร กมลวารินทร์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความสามารถในการให้นมและการไหลของน้ำนมในมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. พยาบาลสาร. 2558;42(4):65–75.
ณชพัฒน์ จีนหลักร้อย, วรรณา พาหุวัฒนกร, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลต่อการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 1 เดือนในมารดาผ่าตัดคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2566;41(3):50-63.
สมทรง บุตรตะ, ชุติมา อันเนตร์, กชพร สิงหะหล้า. ผลของการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อประสิทธิภาพการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตร. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2566;20(2): 210–20.
ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ, นิธิมา คันธะชุมภู, ศิวรรณ วิเลิศ, อรพิน กาลสังข์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา ต่อประสิทธิภาพการให้นมมารดาและอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเป็นเวลา 6 เดือน ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรก. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563;27(2):1–27.
อิงหทัย ดาจุติ, ศศิกานต์ กาละ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนของมารดาทำงานนอกบ้าน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2565; 9(1):107–20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง