ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมระยะที่ 3-4 ต่อพฤติกรรมและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลธวัชบุรี
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, ชะลอไตเสื่อม, ไตเรื้อรัง, ผลลัพธ์ทางคลินิก, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมชะลอไตเสื่อมระยะที่ 3-4 และผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลธวัชบุรี
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าอยู่ในระยะไตเสื่อมระยะที่ 3-4 ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเข้ารับบริการในคลินิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลธวัชบุรีจำนวน 30 คนและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมมากกว่าก่อนการทดลอง (p=.032) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมเพิ่มขึ้น 0.14 คะแนน (95%CI; 0.01, 0.26); ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) น้อยกว่าก่อนการทดลอง (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ยค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลง 1.53% (95%CI; 1.01, 2.03); Fasting Blood Sugar (FBS) น้อยกว่าก่อนการทดลอง (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ย Fasting Blood Sugar (FBS) น้อยกว่า 33.37 mg/ml (95%CI; 21.82, 44.91); อัตราการกรองของไต (eGFR) มากกว่าก่อนการทดลอง (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ย (eGFR) เพิ่มขึ้น 4.49 mg/ml (95%CI; 2.36, 6.61) แต่ Cr (Creatinine) ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน (p=.915)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมฯ นี้ไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการกินยาเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อไป
References
สุนีรัตน์ สิงห์คำ. การเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3):149-58.
ฤดีรัตน์ สีบวงศ์แพทย์, อรทัย ทำทอง, พรรณี ไพศาลทักษิน, กนกฉัตร สายดวงแก้ว, เครือวัลย์ สารเถื่อนแก้ว. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2564;8(2):181-96.
กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ [Internet]. นนทบุรี: 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
ชวมัย ปีนะเก, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่ออัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2566;20(1):242-51.
Kanfer FH, Gaelick-Bays L. Self management method. In: Kanfer FH, Goldstein A, editors. Helping people change: A textbook of methods. 4th ed. New York: Pergamon press; 1991. p.305-60.
Glasgow RE, Emont S, Miller DC. Assessing delivery of the five 'As' for patient-centered counseling. Health Promotion International. 2006;21(3):245-55.
ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.
ศิริลักษณ์ น้อยปาน. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารใน ผู้สูงอายุที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.
Polit DF, Beck CT. Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice. 9th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.
พนิดา รัตนศรี. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565;4(2):209-24.
สุพัตรา พงษ์อิศรานุพร, ศศรส หลายพูนสวัสดิ์, ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2561;37(2):148-59.
พิศมัย ใจถาวร. ผลโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรมเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอท่าสองยาง. [อินเทอร์เน็ต]. ตาก: โรงพยาบาลท่าสองยาง; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2566/r2r/MA2566-004-02-0000000190-0000001205.pdf
ลักขณา ลี้ประเสริฐ, สุทธิณี สิทธิหล่อ. ประสิทธิผลการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อชะลอไตเสื่อมจากโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระยะที่ 1-3 โรงพยาบาลลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2559;24(1-2):49-62.
ดวงดาว อรัญวาสน์, ญาณีกร สีสุรี, ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563;4(7):1-12.
สุรัตน์ อนันทสุข. โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูสิน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2564.
อุไรวรรณ พานทอง. การจัดการโรคไตเรื้อรังโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังในสถานบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาราชนครศรีธรรมราช เวชสาร. 2561;1(2):48-58.
ชลาภัทร คำพิมาน, นายพัฒนชัย รัชอินทร์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 1 ถึง 3 ตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2560;4(2):42-9.
พิศุทธิ์ ชนะรัตน์. ผลลัพธ์ของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตระยะเริ่มต้นที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโพหวายอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(1):217-30
อัมพรพรรณ ธีรานุตร, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์, ปัทมา สุริต, วาสนา รวยสูงเนิน, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, จันทร์โท ศรีนา, และคณะ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอการล้างไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.
Lorig KR, Holman HR. Self-management education: History, definition, outcome, and mechanisms. The society of behavioral medicine. 2003;26(1):1-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง