การพัฒนารูปแบบการคัดกรองวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านในตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การคัดกรองวัณโรค, ผู้สัมผัสร่วมบ้านบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาบริบทชุมชน การพัฒนารูปแบบและประเมินผลการดำเนินงานการคัดกรองวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้าน
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานวัณโรค และอาสาสมัครสาธารณสุข 10 คน และผู้สัมผัสวัณโรคร่วมบ้าน 33 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกผู้สัมผัสร่วมบ้านและแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับผู้สัมผัสร่วมบ้านวัณโรค ดำเนินการศึกษาตั้งแต่ตุลาคม 2565 – พฤษภาคม 2566 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ paired t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย : 1) จำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การคัดกรองในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านไม่ครอบคลุม และขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันวัณโรคโดยเฉพาะผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านจึงมีโอกาสติดเชื้อวัณโรคมาก 2) รูปแบบการคัดกรองผู้สัมผัสวัณโรคร่วมบ้าน ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) พัฒนาศักยภาพแกนนำคัดกรองวัณโรค (2) การสร้างความรู้เกี่ยวกับวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน (3) ดำเนินการคัดกรองวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้าน ขึ้นทะเบียนผู้สัมผัสร่วมบ้าน การตรวจ Chest X-ray และ Sputum AFB (4) การติดตามเยี่ยมบ้าน และ (5) ระบบติดตามผู้สัมผัสร่วมบ้าน และ 3) หลังการพัฒนาพบว่า ผู้สัมผัสร่วมบ้านมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับวัณโรคมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับวัณโรคโดยรวมเพิ่มขึ้น 3.60 คะแนน (95%CI: 2.79, 4.36) และไม่พบผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านในตำบลสระคู
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้มีการคัดกรองสัมผัสร่วมบ้านได้เพิ่มขึ้นดังนั้นควรนำรูปแบบฯ นี้ไปใช้ในพื้นที่ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน โดยเน้นปัจจัยเสี่ยงและอาการของวัณโรค
References
กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานวัณโรค Cohort Report TB07 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http:tbcmthailand.net
สุพร กาวินำ, กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. การคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยป่วยวัณโรคในประชากรกลุ่มผู้สูงอายุและติดสุรา. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;16(6):36-47.
เกษสุมา วงษ์ไกร, พุทธิไกร ประมวล, ภัชราภรณ์ บัวพันธ์. การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกด้วยรถถ่ายภาพรังสีทรวงอกเคลื่อนที่ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 2563;18(1):73-82.
งานยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์; 2566.
จินตนา งามวิทยาพงศ์-ยาไน, ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ, วรรัตน อิ่มสงวน, วณิชยา วันไชยธนวงศ์, อมรรัตน์ วิริยะประสพโชค. การพัฒนาคู่มือและเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความครอบคลุมในการค้นหาผู้สัมผัสวัณโรคและลดผลกระทบทางสังคมแก่ผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรค. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.); 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4960?.
ณัฐสิมา ปาทาน, ชนัญญา จิระพรกุล, ชนาวรัตน์ มณีนิส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการการตรวจคัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563;13(14):94-119.
พิชิต แสนเสนา, สมลักษณ์ หนูจันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านโดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจระเข้อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565;4(2):665-73.
Kemmis S. Action research as a practice-based practice. Educational Action Research. 2009;17(3):463-74.
นงนุช เสือภูมี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของประชาชนตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2556;23(2):79-93.
อภิชน จีนเสวก. การพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคโรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(4):679-89.
วันดี วิรัสสะ. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำจังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ.2561. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4. 2563;10(2):1-9.
เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์, ศุภรดา ภาแสนทรัพย์, น้ำฝน เสาวภาคย์ไพบูลย์. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคปอด งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29(1):96-110.
พชรพร ครองยุทธ, ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์, เจษฎา สุราวรรณ์, จักรกริช ไชยทองศรี, กชมน นรปติ. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(1):15-27.
อะเคี้อ อุณหเลขกะ. การประยุกต์ใช้วิธีการพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือในการป้องกันการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.
วัฒนา สว่างศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3):116-29.
นิรันดร์ ถาละคร. การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในพื้นที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2562;2(2):38-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-11-20 (3)
- 2023-11-20 (2)
- 2023-11-20 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง