ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, องค์กรสมรรถนะสูง, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 131 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง กระทรวงสาธารณสุข MoPH-4T และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัย : ระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ตามเกณฑ์การพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง กระทรวงสาธารณสุข MoPH-4T ในภาพรวมอยู่ในระดับกำลังพัฒนา (ค่าคะแนน ร้อยละ 62.03) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.66, SD.= 0.57) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารองค์กรสมัยใหม่ (X3) และด้านกลยุทธ์องค์กร (X4) สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 58.90 และสามารถเขียนสมการได้ดังนี้
สมการคะแนนดิบ = -14.148+1.025(X1)-0.972(X2)+13.255(X3)+3.907(X4)+3.941(X5)
สมการคะแนนมาตรฐาน y = 0.043(X1)-0.033(X2)+0.501(X3)+0.186(X4)+ 0.148(X5)
สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าการบริหารองค์กรสมัยใหม่และกลยุทธ์องค์กรมีความสำคัญต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. คู่มือแนวทางการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ; 2561.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2556–2561). กรุงเทพมหานคร: วิชั่นพริ้นท์แอนด์มีเดีย; 2556.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการรายงานระบบการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร; 2565.
กระทรวงสาธารณสุข. ระบบการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)ปีงบประมาณ 2562-2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร; 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://pmqa.moph.go.th
วลัยพร สุขปลั่ง, กนกวรรณ พลเทพ, จริยา กิ่งโพธิ์, จุรีรัตน์ จันทาทอง, รุ่งฤดี เทพวงศ์, ศิริศักดิ์ สารบาล. การพัฒนาบุคลากรมุ่งสู่องค์การที่มีสมรรถนะสูง [อินเทอร์เน็ต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bba.ubru.ac.th/files/researchfiles/attachment-1623636127.pdf
รังสรรค์ ตรงฉาก, ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล. การพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง:ศึกษากรณีกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 2562;15(1):23-34 .
วิษณุ เทพสินธพ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคเหนือตอนล่าง. [วิทยานิพนธ์]. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; 2560.
ธนกิจ ยงยุทธ, พนมพัทธ์ สมิตานนท์, นพพล อัคฮาด. การพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของเรือนจำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารการบริหารปกครอง. 2564;10(1):474-97.
ปกิต มูลเพ็ญ, อติพร เกิดเรือง. ประสิทธิผลการดำเนินงานเพื่อเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 2564;6(2):49-62.
มยุลี ปันทะโชติ, ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2564;13(1):195-209.
วารุณี ภูมิศรีแก้ว, ธนวิทย์ บุตรอุดม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงของเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์. 2564;9(1):25-36.
อรุโณทัย สุริยะ, ธนายุ ภู่วิทยาธร. ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพสูงของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษร์ธานี) [การค้นคว้าอิสระ]. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี; 2564
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-11-09 (3)
- 2023-11-09 (2)
- 2023-11-09 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง