การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุติดเตียง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ปิยพร ศรีพนมเขต โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การดูแลต่อเนื่อง, ผู้สูงอายุติดเตียง, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุติดเตียงอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 13 คน และผู้สูงอายุติดเตียง  ที่ต้องการความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันจำนวน 7 คน ญาติหรือผู้ดูแล 7 คน ภาคีเครือข่ายในชุมชนที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน 7 คน และผู้นำชุมชน 1 คน รวมทั้งหมดจำนวน 35 คน ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – เดือนสิงหาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบสังเกตการมีส่วนร่วม แบบบันทึกกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test

ผลการวิจัย : รูปแบบการดูแลต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับผู้สูงอายุติดเตียง  ประกอบด้วย 6 ขั้น การพัฒนารูปแบบ 5P1E คือ 1) P : Prepare ศึกษาและการประเมินสถานการณ์ปัญหา 2) P : Policy นโยบายวัตถุประสงค์ 3) P: Project กิจกรรม 4) P: Process จัดระบบบริการต่อเนื่อง จัดการความรู้ 5) P: Participation บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน 1E: Evaluation ติดตามประเมินผลพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุ และหลังการฝึกอบรม พบว่า (1) ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม (p<.004) (2) ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงมากกว่า 80.00% และ (3) ผู้สูงอายุติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดี จำนวน 2 ราย (28.60%) และระดับปานกลางจำนวน 5 ราย (71.40%) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่พบผู้สูงอายุติดเตียงที่มีคุณภาพชีวิตไม่ดีเลย ในด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจทักษะการดูแลและผู้สูงอายุติดเตียงมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

References

นางพิณทิพย์ จำปาพงษ์. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายติดเตียง โดยพยาบาลครอบครัวและการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา[อินเทอร์เน็ต]. ฉะเชิงเทรา: โรงพยาบาลบางปะกง; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:

http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER4/DRAWER076/GENERAL/DATA0000/00000369.PDF

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน. สถิติรายงานการเยี่ยมบ้าน. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2565.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2544.

กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2559 [เข้าถึงเมื่อ14 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/test/whoqol/

วรางคณา ศรีภูวงษ์, ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์, สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(2):13-28.

วิไล ตาปะสี, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, สีนวล รัตนวิจิตร. รูปแบบการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังตะกู จังหวัดนครปฐม. วารสารเกื้อการุณย์. 2560;24(1):42-54.

สุมิตรา วิชา, ณัชพันธ์ มานพ, สุภา ศรีรุ่งเรือง, เบญจพร เสาวภา, ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร, ณัฐกานต์ ตาบุตรวงศ์, และคนอื่นๆ. รายงานผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง (กรณีศึกษาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียงในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ฮ่องห้า อ.แม่ทะ จ.ลำปาง) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.27.97/digital/files/original/00373b3f9d5b85f351756e6b58b496c5.pdf

วิภา เพ็งเสงี่ยม, พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, วาสนา พงษ์สุภษะ, ศิริรัตน์ จูมจะนะ. การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในชุมชน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2560;18(3):83-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-20