ผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเมืองสรวง

ผู้แต่ง

  • ละอองดาว ขุราษี โรงพยาบาลเมืองสรวง
  • ทิพย์วัลย์ ตรีทศ โรงพยาบาลเมืองสรวง

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, ชะลอไตเสื่อม, ผลลัพธ์ทางคลินิก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการชะลอไตเสื่อมและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเมืองสรวง

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และระยะไตเสื่อมระยะที่ 2-3 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกจากเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการที่ใช้วัดผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence Interval (95%CI)

ผลการวิจัย : 1) หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.83 คะแนน (95%CI;1.60, 2.06) 2) หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลอง มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงต่ำกว่า 10.96 mg/ml (95%CI; 4.86, 17.85) ; ความดันโลหิตบน (Systolic Blood Pressure) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีความดันโลหิตบนต่ำกว่า 15.20 มิลลิเมตรปรอท (95%CI; 8.83, 21.56) ; ความดันโลหิตล่าง (Diastolic Blood Pressure) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีความดันโลหิตบนต่ำกว่า 16.72 มิลลิเมตรปรอท (95%CI; 10.94, 22.49) ; อัตราการกรองของไต (eGFR) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีอัตราการกรองของไตต่ำกว่า 15.02 มล./นาที/1.73 ตร.ม. (95%CI; 8.79, 21.25); Creatinine ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p=.011) โดยมี Creatinine ต่ำกว่า 0.20 mg/ml (95%CI; 0.05, 0.20) และ HbA1c ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมี HbA1c ต่ำกว่า 0.80 mg% (95%CI; 0.52, 1.08)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า Intervention ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอความเสื่อมของไตได้ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปปรับใช้เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง.นนทบุรี: กรม; 2559.

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สธ.เร่งเปิดคลินิกชะลอไตเสื่อมใน รพ.อำเภอ ไม่ให้เกิดไตวายเรื้อรังเร็วเกิน [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2016/01/11551

กวิศรา สอนพูด, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. การดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงและประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(1):101-14.

โรงพยาบาลเมืองสรวง. งานยุทธศาสตร์. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2564.

Kanfer FH, Gaelick-Bays L. Self management method. In: Kanfer FH, Goldstein A, editors. Helping people change: A textbook of methods. 4th ed. New York: Pergamon press; 1991. p.305-60.

Glasgow RE, Emont S, Miller DC. Assessing delivery of the five 'As' for patient-centered counseling. Health Promotion International. 2006;21(3):245-55.

สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, นิรุวรรณ เทริ์นโบล์, ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์, วรางคณา ศรีภูวงษ์, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรังสำหรับกลุ่มเสี่ยงในชุมชน. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2564;37(3):229-40.

พนิดา รัตนศรี. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565;4(2):209-24.

สุนันทา สกุลยืนยง. ผลของรูปแบบการให้ความรู้ในการปรับพฤติกรรมเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สคร.3. 2560;11(2):61-76.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง, ทิพมาส ชิณวงศ์, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2558;35(1):67-84.

สิทธิพงษ์ พรมแสง. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2564;6(3):63-71.

ธัญญพัทธ์ สุนทรานุรักษ์, นวลอนงค์ หุ่นบัวทอง, อัชพร แสงอุทัย. ผลของโปรแกรมการควบคุมอาหารชะลอไตเสื่อมในคลินิกชะลอไตเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2563;3(2):86-97.

สุพัตรา พงษ์อิศรานุพร, ศศรส หลายพูนสวัสดิ์, ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2561;37(2):148-59.

กนก เจริญพันธ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2566;17(2):543-58.

ปัฐยาวัชร ปรากฎผล, อรุณี ไชยฤทธิ์, อุทัยทิพย์ จันทร์เพ็ญ, กนกพร เทียนคำศรี, ขนิษฐา แสงทอง, วงศ์ทิพารัตน์ มัณยานนท์, และคนอื่นๆ. การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เขตสุขภาพที่ 7. วารสารแพทย์นาวี. 2566;50(1):165-88.

Orem DE, Taylor SG, Ren penning KM. Nursing: Concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-09 — Updated on 2023-10-09

Versions