การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ของวิทยากรกระบวนการในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เสฐียรพงษ์ ศิวินา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ด้วยตนเอง, การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, วิทยากรกระบวนการ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์พัฒนารูปแบบและประเมินผลลัพธ์รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของวิทยากรกระบวนการในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นวิทยากรกระบวนการในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 45 คนผู้ร่วมวิจัยและผู้ประสานงานวิจัยจำนวน 40 คนดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม 2565-มีนาคม 2566 เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ แบบประเมินความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบแบบทดสอบความเกี่ยวกับการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% confidence Interval (95%CI)

ผลการวิจัย : รูปแบบการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วยขั้นพึ่งพา (Dependent) ขั้นสนใจ (Interested) ขั้นเข้าเกี่ยว (Involved) และขั้นชี้นำตนเอง (Self-Direction) มีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากและหลังการพัฒนา วิทยากรกระบวนการมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยมากกว่าก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการพัฒนา 5.42 คะแนน (95%CI; 4.86, 5.91)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองส่งผลให้วิทยากรกระบวนการมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยเพิ่มขึ้น

References

วิจารณ์ พานิช. ตั้งหลักที่ความคิด 9 R2R อย่าสำคัญ (ผิด) ว่าเป็นเป้าหมาย. ใน: จรวยพร ศรีศศลักษณ์, อภิญญา ตันทวีวงศ์, บรรณาธิการ. R2R : Routine to Research สยบงานจำเจด้วยการวิจัยสู่โลกใหม่ของงานประจำ.นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.);2551.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ. แบบสรุปสำหรับผู้บริหาร ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รอบ 1.ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุข; 2566.

ละเอียด แจ่มจันทร์, รวิภา บุญชูช่วย, สุนีย์ อินทรสิงห์. การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง:ถอดบทเรียนจากการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558;24(3):1-14.

Grow G.Teaching learners to be self-directed. Adult Education Quarterly. 1991;41(3):125-49.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3 rd ed. Victoria: DeakinUniversity Press; 1988.

แรกขวัญ สระวาสี, สงกรานต์ กัญญมาสา. ผลของการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2562;28(3):499-508.

รวิพร โรจนอาชา. การประเมินผลโครงการงานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรโรงพยาบาลสะเดา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3(2):133-48.

ฐินันท์พัทธ์ รวมธรรม, สงครามชัย ลีทองดี, เมรีรัตน์ มั่นวงศ์. รูปแบบการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมในงานประจำโรงพยาบาลวารินชำราบอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.2562;8(2):186-95.

ศุภลักษณ์ วัฒนาเฉลิมยศ, สวัสดิ์รักษ์ใสงาม. การพัฒนาทิศทางงานวิจัยในองค์การโดยใช้ เทคนิค ZOPP และ Force Field Analysis. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. 2557;1(1):12-22.

สมชาติ โตรักษา. การประยุกต์ R2R ในการพัฒนาบุคลากร ด้านการวิจัยของชาติ. วารสารสมาคมนักวิจัย. 2559;21(3):17-26.

ศศิธร ดีคล้าย, สมชาติ โตรักษา, วัลลีรัตน์ พบคีรี. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัยของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาภรณ์. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2564:15(3):162-71.

ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ. การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ: การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2561;1(3):1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-20