การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในไตแบบเจาะรูผ่านผิวหนังของผู้ป่วยโรงพยาบาลร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, การผ่าตัดนิ่วในไตแบบเจาะรูผ่านผิวหนัง, นิ่วในไตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในไตแบบเจาะรูผ่านผิวหนังของผู้ป่วยโรงพยาบาลร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development Study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่ห้องผ่าตัด 20 คนและผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในไตแบบเจาะรูผ่านผิวหนังที่แผนกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ 20 คน การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ระยะคือ 1) การค้นหาปัญหาทางคลินิก 2) การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้ และ 4) การนำแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงในหน่วยงาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 คน ส่วนใหญ่เป็นหญิง (65.0%) และปฏิบัติงานที่ห้องผ่าตัดน้อยกว่า 10 ปี (60.0%) แนวปฏิบัติที่ได้จากการพัฒนาประกอบด้วย 10 ขั้น ได้แก่ 1) ลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด 2) ป้องกันการผ่าตัดผิดคนผิดข้าง 3) ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการเคลื่อนย้าย 4) ป้องกันการเกิดการบาดเจ็บจากการจัดท่า 5) ป้องกันการเกิดการแพ้ยาหรือสารเคมี 6) ป้องกันการเกิดอันตรายจากการใช้เครื่องมือทำผ่าตัด 7) ป้องกันการเกิดอันตรายต่อไตและอวัยวะข้างเคียงส่งผลต่อการสูญเสียเลือดมากกว่า 500 cc. 8) ป้องกันการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ 9) ป้องกันการเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและ 10) ส่งเสริมการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องหลังผ่าตัด และการนำแนวปฏิบัติไปใช้พบว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด สามารถปฏิบัติได้จริงเกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกกับผู้ป่วยในระดับมาก และผู้ใช้แนวปฏิบัติมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลครั้งนี้ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกกับผู้ป่วยและผู้ใช้แนวปฏิบัติมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี. โรคนิ่วไต [อินเตอร์เน็ต]. 2020 [cited 2023 Feb 23]. Available from: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%4%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%95
ยุทธชัย ตริสกุล. การรักษาโรคนิ่วในไตด้วยวิธีผ่าตัด Percutaneous Nephrolithotomy ในโรงพยาบาลยโสธรปี 2555-2556 และโรงพยาบาลนครพนมปี 2560-2562. วารสารกรมการแพทย์. 2563;45(3):13-7.
ทรงวุฒิ ประสพสุข. การรักษานิ่วในไตด้วยการเจาะรูผ่านผิวหนังในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2552;6(3):186-94.
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. งานสถิติและข้อมูลการบริการ. สถิติการผ่าตัด. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2565.
Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence based practice model: promoting the scholarship of practice. The Nursing Clinics of North America. 2000;35(2):301-9.
จำรูญ ลิขิตวัฒนาสกุล. เปรียบเทียบการรักษานิ่วในไตด้วยการผ่าตัดเจาะรูผ่านผิวหนัง และการผ่าตัดเปิดไต. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2553;19(6):954-60.
วิลาวัลย์ สมดี, เทพกร สาธิตการมณี, กชกร พลาชีวะ, วินิตา จีราระรื่นศักดิ์, สุธันนี สิมะจารึก, วิริยา ถิ่นชีลอง, และคนอื่นๆ. การเกิด pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2556;28(2).178-83.
วิลาวัลย์ สมดี, เทพกร สาธิตการมณี, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, ขจิตร์ พาชีรัตน์, กชกร พลาชีวะ, สุธันนี สิมะจารึก, และคนอื่นๆ. การประเมินแนวปฏิบัติสำหรับภาวะ pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังเพื่อนำนิ่วออกจากไตในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2558;30(4).333-38.
Polit DF, Beck CT. Nursing research: Generating and assign evidence for nursing practice. 8th ed. Philadelphia: Lippincott; 2008.
Joanna Briggs Institute. JBI Levels of Evidence [Internet]. JBI; 2013 [cited 2023 Feb 26]. Available from: https://jbi.global/sites/default/files/2019-05/JBI-Levels-of evidence_2014_0.pdf
จิราภรณ์ ใสบริสุทธิ์, ป่ารีด๊ะ บิลล่าเต๊ะ, จิราภา ไชยบัญดิษฐ์. แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและจัดการภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วย ที่เข้ารับการผ่าตัดใน โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วิสัญญีสาร. 2562;45(3):104-10.
ดรุณี สมบูรณ์กิจ, อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, กมลรัตน์ สุปัญญาบุตร, รัชชยา มหาสิริมงคล. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561;15(3):24-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง