ผลของการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังบนตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

ผู้แต่ง

  • วิมลรัตน์ สารทอง โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

คำสำคัญ:

โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การบริบาลเภสัชกรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้และทักษะการใช้ยาพ่น การกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังการบริบาลเภสัชกรรม และเพื่อค้นหาปัญหาเกี่ยวกับยาในผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง Quasi experimental study (One Group Pretest Posttest Design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2565 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบประเมินความรู้และทักษะการใช้ยาพ่น และอุปกรณ์สื่อการสอนพ่นยา ศึกษาโดยการประเมินความรู้และทักษะการใช้ยาพ่น เภสัชกรให้คำแนะนำ ให้ความรู้ ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น 1-2 วันถัดมาทำการประเมินผล และติดตามการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยใน 28 วัน

ผลการวิจัย : พบปัญหาจากการใช้ยา 10 ปัญหา ถูกแก้ไขและให้คำแนะนำโดยเภสัชกร โดยปัญหาส่วนใหญ่พบว่ามีสาเหตุมาจากผู้ป่วยบริหารยาผิด (45.00%) และมีผู้ป่วยถึง 4 คนที่ไม่ทราบว่าตัวยาพ่นชนิดที่มีสเตียรอยด์ผสมจำเป็นต้องพ่นต่อเนื่องทุกวัน หลังการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังบนตึกผู้ป่วยในทำให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาพ่นและทักษะการใช้ยาพ่นของผู้ป่วยมีคะแนนรวมเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่ามีหลายข้อคำถามมีผู้ตอบคำถามถูกเพิ่มขึ้น

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้และทักษะการใช้ยาพ่นเพิ่มขึ้น และลดการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยได้

References

World Health Organization. Asthma [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 28]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/asthma.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. Pocket guide to COPD Diagnosis, Management and Prevention A Guide for Health Care Professionals [Internet]. 2021 [cited 2023 Jan 28]. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2020/11/GOLD-2021- POCKET-GUIDE-v1.0-16 Nov20_WMV.pdf

Thanaviratananich S, Cho SH, Ghoshal AG, Muttalif ARBA, Lin HC, Pothirat C, et al. Burden of respiratory disease in Thailand: Results from the APBORD observational study. Medicine (Baltimore). 2016 Jul;95(28):e4090.

กฤติมา โภชนสมบูรณ์. ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2554;65(1):73-82.

Adake P, Tom C, Harshida, Thomas DS, Gangadharan A. The Role of Clinical Pharmacist in Enhancement of Medication Adherence and Quality of Life in Bronchial Asthma and Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Journal of Drug Delivery and Therapeutics 2021;11(4-S):48-53.

Pharmaceutical Care Network Europe Foundation. Classification for Drug related problems [Internet]. 2017 [cited 2022 Jan 29]. Available from: https://www.pcne.org/upload/files/230_PCNE_classification_V8-02.pdf.

อภิชาติ จิตต์ซื่อ, วรรณคล เชื้อมงคล, ฐิติมา เพชรอาภรณ์, จันทร์ทิพย์ เจริญทรัพย์สาคร. ผลของกระบวนการให้คำปรึกษาวิธีใช้ยาสูดพ่นต่อความรู้และทักษะของผู้ป่วยโรคหืด ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(5):569-76.

Saovapakpusit S, Chatviriyawong C, Pamonsinlapatham P. Evaluation and monitoring of medication errors and drug related problems from oral inhaler drugs in patients with asthma and chronic obstructive pulmonary disease at sawanpracharak hospital. Thai Bull Pharm Sci. 2020;15(1):31-47.

อนัญญา สองเมือง, ธนัฎชา สองเมือง. ผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยใช้โปรแกรม SMART AsthCOPD ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(5):577-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25 — Updated on 2023-06-02

Versions