โครงการการพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโรงพยาบาลสองคู่หู (โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์และโรงพยาบาลศรีสะเกษ) ภายใต้นโยบาย Innovative Health Care Management
คำสำคัญ:
ระบบการพยาบาล, การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, Innovative health care managementบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโรงพยาบาลสองคู่หู (โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และโรงพยาบาลศรีสะเกษ) ภายใต้นโยบาย Innovative Health Care Management
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย 1) พยาบาลพี่เลี้ยงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2) พยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศรีสะเกษที่รับการฝึกปฏิบัติ 3) พยาบาลพี่เลี้ยงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศรีสะเกษ 4) ทีมผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโรงพยาบาลสองคู่หู รวม 30 คนซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็น 1) โครงการพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโรงพยาบาลสองคู่หู 2) ตารางฝึกปฏิบัติ และ 3) คู่มือการปฏิบัติการพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลพี่เลี้ยงแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด และแบบติดตามการประเมินศักยภาพ (ด้านผู้ป่วย) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัย: พบว่าโครงการฯ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (Mean=4.21) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้ากระบวนการ ประสิทธิผล ผลกระทบ ความยั่งยืน และการขยายผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน (Mean=4.17, 4.30, 4.21, 4.24, 4.30, 4.10 และ 4.26) ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบริหารจัดการด้านการวางแผน การจัดองค์การ การนำและการประเมินผล เพื่อสร้างความเข้มแข็งและขยายผลในการพัฒนาขีดความสามารถในบุคลากรงานห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลเครือข่ายสุขภาพเขต 10
References
World Health Organization. Sixty-Fifth World Health Assembly [Internet]. Geneva: WHO; 2012. [cited 2022 Dec 19]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/events/2012/wha65/en/. WHA65/2012/REC/1
ยุวดี ลีลัคนาวีระ, สุธารัตน์ ชำนาญช่าง, สุรีรัตน์ คงสติ. นวัตกรรม “คู่หูดูแลสุขภาพ” และหลักสูตรการเรียนรู้ยุทธศาสตร์ การสร้างเสริมสุขภาพ: กรณีศึกษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่ง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561;26(1):91-100.
ศิวพันธ์ ยุทธแสน, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, เกษรา ธิเขียว. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะวิกฤต: การนำผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติทางคลินิก. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2564;13(2):452–63.
จรัญ สายะสถิตย์. ศัลยศาสตร์โรคหัวใจที่พบบ่อย Common Cardiac surgery. พิมพ์ครั้งที่ 3. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.
Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation Theory, models and applications. San Francisco: Jossey-Bass; 2007.
ทิศนา แขมมณี. 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
Stufflebeam DL, Coryn CLS. Evaluation: theory, models and applications. 2nd ed. San Francisco: Jossey-Bass.; 2014.
สุภิดา สุวรรณพันธ์, มะลิวรรณ อังคณิตย์, อาริยา สอนบุญ. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดและปฏิบัติบริการ พยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563;38(3):51–60.
นงค์รัก ชัยเสนา. ปัญหา ความต้องการและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลใน 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2557;20(2):333–43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-03-21 (3)
- 2023-03-21 (2)
- 2023-03-21 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง