รูปแบบในการดำเนินงานการส่งเสริมการใช้ยาในผู้สูงอายุ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ชัชวาล โสดาภักดิ์ โรงพยาบาลนาเชือก

คำสำคัญ:

รูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาในผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, การใช้ยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินงานการส่งเสริมการใช้ยาในผู้สูงอายุ ด้วยการสำรวจสถานการณ์การใช้ยาในครัวเรือนของผู้สูงอายุจากการเยี่ยมบ้านทางด้านเภสัชกรรม

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1 ใน 8 โรค (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคเก๊าท์ โรคหอบหืด โรคข้อเสื่อม โรคไตเรื้อรัง) ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและมารับบริการที่โรงพยาบาลนาเชือก เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ถึง 15 เมษายน 2565 จำนวน 82 ราย โดยการใช้แบบสำรวจการใช้ยาในครัวเรือนขององค์การอาหารและยา ปี พ.ศ. 2560 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย : รูปแบบการดำเนินงานการส่งเสริมการใช้ยาในผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) การประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่ 2) การพัฒนาศักยภาพความรู้ของบุคลากร 3) การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยอุ่นใจด้านยากับเภสัชกรครอบครัว 4) การเสริมพลังด้านการใช้ยาให้กับผู้สูงอายุ และ 5) การเฝ้าระวังเตือนภัยด้านการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม โดยเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบเดิมที่พบว่ามีการดำเนินงานโดยไม่ผ่านสหวิชาชีพและมีเพียงการให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพเฉพาะกลุ่มแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เท่านั้น

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปดำเนินการในพื้นที่

References

ปิยะดา ยุ่ยฉิม, มยุรี นิรัตธราดร, พนิดา ศิริอำพันธ์กุล, ณัฐพัชร์ บัวบุญ. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการจัดการปัญหาการใช้ยาต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2561;48(1):44-56.

เอมอร ส่วยสม. พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุเรื้อรัง. ชัยภูมิเวชสาร. 2563;40(1):6-13.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). 10 พฤติกรรมการใช้ยาไม่ปลอดภัย [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สสส.; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/10-พฤติกรรมการใช้ยาไม่ปลอดภัย

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3 rd ed. Victoria: Deakin University press; 1988.

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. แนวทางการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน 2560 [อินเตอร์เน็ต]. เลย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://loeifda.blogspot.com/2017/03/2560.html

วิมลจิต จันทโชติกุล, ธิติ รัตนาคม. บทบาทของทีมสหวิชาชีพในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา. วารสารกระบี่เวชสาร. 2563;3(1):61-76.

ศุภศิล วิสุทธิ. การดูแลแบบสหวิทยาการสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ : บทบาทของเภสัชกร. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2539;2(3):83-89.

วิน วินิจวัจนะ. การใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ:เรื่องต้องรู้สำหรับเภสัชกร [อินเตอร์เน็ต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2565). เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=1127.

ศานตมล เสวกทรัพย์, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, ศิราณี ยงประเดิม. ผลของการใช้โทรศัพท์ติดตามเพื่อลดปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาอะม็อกซีซิลลินชนิดรับประทาน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2555;4(1):17-27.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การสำรวจพฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองด้วยแพทย์แผนไทยและสมุนไพรของครัวเรือน พ.ศ.2556 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: 2557 [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/herb56.pdf.

ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก, ปวีณา ว่องตระกูล, หรรษา มหามงคล, วรัญญา เนียมขำ. การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุกรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเข้น้อย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2559;20(39):97-108.

ศลิษา สะพลอย. การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้านสำหรับเภสัชกรโรงพยาบาลสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

วิไล ตาปะสี, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, สีนวล รัตนวิจิตร. รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังตะกู จังหวัดนครปฐม. วารสารเกื้อการุณย์. 2560;24(1):42-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-13 — Updated on 2023-03-21

Versions

ฉบับ

บท

บทความต้นนิพนธ์