This is an outdated version published on 2023-02-21. Read the most recent version.

การพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุวัณโรคปอดระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลถึงบ้าน

ผู้แต่ง

  • บรรจง จาดบุญนาค โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • วัฒนา สว่างศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • วันสุ ทวีคณะโชติ โพธิพรณ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแล, ผู้สูงอายุวัณโรคปอด, การดูแลในระยะเปลี่ยนผ่าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุวัณโรคปอดระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลถึงบ้าน

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การดำเนินการพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ วิเคราะห์สถานการณ์โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ลงทะเบียนที่โรงพยาบาลมหาสารคามตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 1,162 ราย จัดตั้งทีมผู้ร่วมงานวิจัยพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุวัณโรคปอดระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลถึงบ้าน โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และปรับปรุงแก้ไข ระยะดำเนินการ โดยการนำโปรแกรมการดูแลฯ สู่การปฏิบัติ ระยะประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกภาวะสุขภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย : 1) การศึกษาสถานการณ์ ผู้เกี่ยวข้องสะท้อนว่าควรมีการดูแลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าในตัวเองและความสำคัญของการรักษาเพื่อการรักษาสำเร็จ และสนับสนุนการดูแลแก่ผู้ดูแล ทีมต้องการแนวทางการดูแลที่ชัดเจน และต้องการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุวัณโรคปอดระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลถึงบ้านได้ปรับปรุงแก้ไข ประกอบไปด้วย (1) การประเมินความพร้อมในการดูแลตนเองที่บ้านของผู้สูงอายุวัณโรคปอด (2) การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและผู้ดูแลในการดูแลตนเองที่บ้าน และ (3) การใช้บทบาทเสริมเพื่อสนับสนุนการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วยหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล 2) ระยะดำเนินการ โดยนำโปรแกรมการดูแลฯ ไปใช้กับผู้สูงอายุวัณโรคปอด 3) ระยะประเมินผล พบว่าผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นวัณโรคปอดเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลฯ จำนวน 16 ราย เพศชาย (50.00%) เท่ากับเพศหญิง อายุเฉลี่ย 71 ปี (SD=6.58) ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ 8 ราย (50.00%) ผลการรักษาหายขาด 13 ราย (81.25%) แนวโน้มดีขึ้นและรักษาต่อเนื่อง 3 ราย (18.75%) (เนื่องจากเปลี่ยนสูตรยาทำให้ต้องขยายระยะเวลาในการรักษา) ผลการศึกษาเปรียบเทียบระดับคะแนนคุณภาพชีวิตภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ Mdn(IQR)=3.15(0.17) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ Mdn(IQR)=3.03 (0.12)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีการรักษาดีขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมฯ นี้ไปใช้เพื่อพัฒนาผลการดำเนินงานต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. สำนักวัณโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561 National Tuberculosis Control Program Guideline, Thailand, 2018. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2561.

วัฒนา สว่างศรี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3):116-29.

ศิโรตม์ จันทรักษา. ลักษณะและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564;18(2):88-96.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. งานวัณโรค. บันทึกข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลมหาสารคามปี 2563 – 2565. มหาสารคาม: โรงพยาบาล; 2565.

กรมควบคุมโรค. ฐานข้อมูลผู้ป่วยวัณโรค NTIP Thailand [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ntip-ddc.moph.go.th/uiform/Login.aspx

ประคอง อินทรสมบัติ, สุปรีดา มั่นคง, สมทรง จุไรทัศนีย์, สุลักษณ์ วงศ์ธีรภัค, วิลาวัณย์ ประสารอธิคม, ปาริชาติ พรสวัสดิ์ชัย, และคนอื่นๆ. การดูแลผู้สูงอายุที่รับรักษาไว้ในโรงพยาบาลอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง:การดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2556;19(2):194-205.

Meleis AI, Sawyer LM, Im EO, Hilfinger Messias DK, Schumacher K. Experiencing transitions: an emerging middle-range theory. ANS Adv Nurs Sci. 2000;23(1):12-28.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Reader. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-21 — Updated on 2023-02-21

Versions

ฉบับ

บท

บทความต้นนิพนธ์