This is an outdated version published on 2023-02-21. Read the most recent version.

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลหนองย่างชิ้น อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วุฒิพงษ์ บัวสาย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเรณูนคร

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลหนองย่างชิ้น อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลหนองย่างชิ้น จำนวน 518 คน วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ช่วงอายุ เพศ โดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยใช้ Multiple logistic regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% confidence interval

ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 518 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 302 คน (58.3%) อายุในช่วง 60-69 ปี จำนวน 326 คน (62.9%) สถานภาพสมรส สมรสแล้ว จำนวน 285 คน (55.0%) จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จำนวน 355 คน (68.5%) รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 481 คน (92.9%) แหล่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากสวัสดิการจากรัฐ จำนวน 493 คน (95.2%) อาศัยอยู่กับบุตร/ธิดา จำนวน 232 คน (44.8%) ทุกคนมีผู้ดูแลและเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุหรือหมู่บ้านและไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 411 คน (79.3%) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลหนองย่างชิ้น (p<.05) ได้แก่ ตัวแปรเพศ การมีโรคประจำตัว คะแนนด้านสุขภาพร่างกาย และด้านสิ่งแวดล้อม

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงควรนำตัวแปรนี้ไปออกแบบโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ

References

บรรจง ลาวะลี, พระศรีวินยาภรณ์ (สายรุ้ง อินฺทาวุโธ), สุเทพ เมยไธสง, อดิศักดิ์ ทุมอนันต์, ฉัตรชัย ชมชารี. การศึกษาสมรรถนะทางกายผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 2564;6(1):172-183.

Marketeer Team. สถิติผู้สูงอายุไทยปี 65 จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มต่อเนื่องแต่อัตราการเกิดต่ำ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: Marketeer; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://marketeeronline.co/archives/272771

พิมพ์อพิชยา อินทร์โสภา. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยเขตจังหวัดสมุทรปราการ [การศึกษาอิสระ]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

นริสา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. คุณภาพชีวิต:การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3):64-70.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเรณูนคร. สารสนเทศภูมิศาสตร์ข้อมูลสุขภาพนครพนม (GIS). นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ; 2565.

นัสมล บุตรวิเศษ, อุปริฏฐา อินทรสาด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์พระนครศรีอยุธยา; 2563.

จิรัชยา เคล้าดี, สุภชัย นาคสุวรรณ์, จักรวาล สุขไมตรี. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์. 2560;15(1):27-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-21

Versions

ฉบับ

บท

บทความต้นนิพนธ์