การดำเนินมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) ในสถานประกอบการ จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • สุปราณี ชุมจันทร์ โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • พัฒนาพร กล่อมสุนทร โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • สุพรรณี กุลวงษ์ โรงพยาบาลมุกดาหาร

คำสำคัญ:

Bubble and Seal, ความรู้ด้านสุขภาพ, การควบคุม, ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการดำเนินมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) และการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในสถานประกอบการ จังหวัดมุกดาหาร

รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานโรงงาน 2 แห่งในจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 450 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวางแผน ดำเนินการตามแผนปฏิบัติ การติดตามประเมินผล และการสะท้อนผลการดำเนินการมาตรการ Bubble and Seal เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test

ผลการวิจัย : หลังการดำเนินการ พบว่า พนักงานโรงงานน้ำตาล (สหเรือง) มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยรวม มากกว่าก่อนการดำเนินการ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 0.32 คะแนน (95%CI;0.31, 0.33) โรงงานแปรรูปยางพารา หลังการดำเนินการพบว่าพนักงานมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยรวมมากกว่าก่อนการดำเนินการ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 0.21 คะแนน (95%CI;0.19, 0.23) และพนักงานโรงงานน้ำตาล (สหเรือง) มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยรวม มากกว่าก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 0.53 คะแนน (95%CI;0.50, 0.57) และหลังการดำเนินการ พบว่า พนักงานโรงงานแปรรูปยางพารามีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยรวม มากกว่าก่อนการดำเนินการ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 0.52 คะแนน (95%CI;0.48, 0.56)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการดำเนินการครั้งนี้ พนักงานส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ และมีพฤติกรรมตามมาตรการสูงกว่าก่อนได้รับความรู้ตามมาตรการ และควรมีการจัดกลุ่มเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวัง และเร่งขยายเครือข่าย ในการใช้มาตรการ Bubble and Seal ทุกโรงงานในจังหวัดมุกดาหาร อย่างต่อเนื่อง

References

ภัคณัฐ วีรขจร, โชคชัย ขวัญพิชิต, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ศูนย์อำนวยการแพทย์จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563;3(3):106–17.

กรมควบคุมโรค. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) สำหรับสถานประกอบกิจการ. นนทบุรี: กอง; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. รายงานระบบเฝ้าระวัง COVID-19 MUK [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/view/covid19muk

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

วรรณา มุ่งทวีเกียรติ, เพ็ญนภา วิเชียร, พัฒนา ชวลิตศุภเศรณี, อรทัย หุ่นดี, ชัชวาล วงค์สารี. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2564;13(2):313-23.

Bloom BS. Taxonomy of Educational Objectives Handbook 1 Cognitive Domain. London: David McKay Company; 1979.

Orem DE. Nursing: Concepts of Practice. 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.

มานพ ยะภักดี. ผลการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อสม. อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2565;6(11):85-94.

เกษมสุข กันชัยภูมิ. การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ด้วยกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7(3):66-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13 — Updated on 2022-12-15

Versions