การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานจัดบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • นงคราญ สุระพินิจ โรงพยาบาลอาจสามารถ
  • ศรัณรัตน์ ศิลปักษา โรงพยาบาลอาจสามารถ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง, การมีส่วนร่วม, ภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานจัดบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภออาจสามารถ 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ญาติ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุ  เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน  Care Manager และ Caregiver จำนวน 327 คน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2562 - กันยายน 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การทบทวนเอกสาร แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน และแบบประเมินกองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การวิจัยแบ่งเป็นระยะที่ 1 ศึกษาบริบทและสถานการณ์การดำเนินงานกองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง คืนข้อมูลและออกแบบระบบการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย  ระยะที่ 2 วางแผนและนำรูปแบบการดำเนินงานไปปฏิบัติ และระยะที่ 3 ติดตามประเมินผล และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย : ก่อนพัฒนาพบว่า การดำเนินงานผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย  ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Manager : CM) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ไม่เข้าใจระเบียบและแนวทางการดำเนินงาน และไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณ (45.45%) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ขาดทักษะการปฏิบัติงาน ขาดการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่าย หลังพัฒนาพบว่า กองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเบิกจ่ายงบประมาณเป็นปัจจุบัน ผู้สูงอายุติดเตียงพัฒนาเป็นติดบ้าน (17.50%) กลุ่มติดบ้านพัฒนาเป็นติดสังคม (22.72%) และมี Activities of Daily Living (ADL) เพิ่มขึ้น (67.28%) มีนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น 

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญ ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

References

ยศ วัชระคุปต์, วรรณภา คุณากรวงศ์, พสิษฐ์ พัจนา, สาวิณี สุริยันรัตกร. ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561;12(4):608-24.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2553.

ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, วัชรี อมรโรจน์วราวุฒิ, ปิยะธิดา คูหิรัญญรัตน์, ธารา รัตนอำนวยศิริ, นวลละออง ทองโคตร. ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(Long Term Care : LTC). ขอนแก่น: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

ยุทธพล เดชารัตนชาติ, ยิ่งศักดิ์ คชโคตร. รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 2565;22(3):63-80.

กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์, ฐิติมา โกศัลวิตร, นฤมล บุญญนิวารวัฒน์. รูปแบบการดูแลระยะยาวแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. มนุษยสังคมสาร (มสส.). 2562;17(1):1-19.

วรางคณา ศรีภูวงษ์, ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์, สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(2):13-28.

ประเสริฐ เก็มประโคน, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์, วิไลพร คลีกร. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวและเข้าถึงบริการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(1):140-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-13