ผลการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมต่อความเครียด ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา คงเพชร โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การให้คำปรึกษาแนวพุทธธรรม, การเจริญสติ, พยามยามฆ่าตัวตาย, ซึมเศร้า, ความเครียด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมต่อความเครียด ภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–experimental research: Two group pretest –posttest design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าพยายามฆ่าตัวตาย ที่มารับบริการที่คลินิกสบายใจ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความเครียด 5 ข้อ (ST-5) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) และแบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic), Paired t–test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% confidence interval

ผลการวิจัย : หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า และคะแนนเฉลี่ยความเครียดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p=.001, 95%CI;-18.77, -7.09, p=.001, 95%CI;-11.68, -3.38 และ p=.016, 95%CI;-5.87, -0.65 ตามลำดับ)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายจากการได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ

References

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. การป้องกันและลดปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://suicide.dmh.go.th/download/files/

ศักรินทร์ แก้วเฮ้า, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, พิมพ์นิดา กุลสุนทราลัย, อำไพ โพธิ์คำ, สุนิศา เจือหนองแวง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายซ้ำของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563;65(3):301-14.

มาโนช หล่อตระกูล. การฆ่าตัวตาย การรักษาและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: โครงการตำรารามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

อนุพงศ์ คำมา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ : กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2556;58(1):3-16.

ฤทธิรงค์ หาญรินทร์, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. การให้การปรึกษารายบุคคลแนวพุทธศาสนาในผู้ป่วยเรื้อรังที่มีความซึมเศร้า. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2551;16(1):14-23.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, สวิตตา ธงยศ, อิงคฏา โคตนารา, ขจรศักดิ์ วรรณทอง. ประสิทธิผลของการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมต่อการลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557;59(4):381-93.

โสภิต ทับทิมหิน, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. ผลการให้การบำบัดแบบกลุ่มตามแนวพุทธธรรมต่อภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา. วารสารสภาการพยาบาล. 2555;27(1):109-23.

สุนันทา ตั้งปนิธานดี, ชนมน เจนจิรวัฒน์, ปัญจศา ลี้ศิริสรรพ์, มินทร์ลดา เพิ่มทรัพย์ทวีผล. ผลของการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลเด็กกำพร้าและถูกทอดทิ้ง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2558;21(3):368-81.

ภัทรภรณ์ วงษกรณ์. ผลของโปรแกรมการฝึกสติต่อความเครียดในผู้ต้องขัง [วิทยานิพนธ์].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

วรรณี ศิรินทรางกูร, นพรัตน์ ไชยชำนิ, เสาวลักษณ์ ยิ้มเยือน. การพัฒนาโปรแกรมจัดการความโกรธด้วยสติบำบัดสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2562;33(3):68-85.

Sharma M, Rush SE. Mindfulness-based stress reduction as a stress management intervention for healthy individuals: a systematic review. J Evid Based Complementary Altern Med 2014;19(4):271-86. doi:10.11772/2156587214543143. PMID: 25053754.

สวิตตา ธงยศ. ผลการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมในผู้พยายามฆ่าตัวตายที่มีภาวะซึมเศร้าโรงพยาบาลเรณูนคร [อินเทอร์เน็ต]. นครพนม: โรงพยาบาล; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://renuhospital.go.th/uploads/File/KM%20Best%20practices.doc

Luoma JB, Villatte JL. Mindfulness in the Treatment of Suicidal Individuals. Cogn Behav Pract 2012;19(2):265-76. doi: 10.1016/j.cbpra.2010.12.003

พระมหาสายัณห์ วงศ์สุรินทร์. การให้คำปรึกษาตามแนวพุทธ. ปัญญพัฒน์ วารสารพัฒนาข้าราชการ กทม. 2564;40(2):102-10.

พระอธิการจิรวัฒน์ จกฺกวโร (ปิ่นสุวรรณภูนิธิ). ศึกษาทุกข์ในไตรลักษณ์และทุกข์ในอริยสัจ 4ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2557.

พระครูภาวนาวีรานุสิฐ วิ. กระบวนการให้คำปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 2560;13(3):144-55.

พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. การทำจิตบำบัดแนวพุทธโดยใช้หลักอริยสัจ 4 .วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2553;4(2):33-42.

พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. บทความพิเศษจากราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยสกัดองค์ความรู้จากการอบรมจิตบำบัดแนวพุทธ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2551;53(1):4-7.

จำลอง ดิษยวณิช, พริ้มเพรา ดิษยวณิช. จิตบำบัดเชิงพลศาสตร์ที่อิงสติเป็นพื้นฐาน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557;59(3):179-94.

Forkmann T, Wichers M, Geschwind N, Peeters F, Os VJ, Mainz V, et al. Effects of mindfulness-based cognitive therapy on self-reported suicidal ideation: result from a randomised controlled trail in patients with residual depressive symptoms. Compr Psychiatry 2014;55(8):1883-90. doi:10.1016/j.comppsych.2014.08.043.

Shakland R, Tessier D, Strub L, Gauchet A, Baeyens C. Improving mental health and well-Being through informal mindfulness practice:an intervention study. Applied psychology : health and well be-ing 2021;13(1):63–83. Doi:10.1111/aphw.12216.

ชัชวาล ศิลปกิจ. สติและกระบวนการบำบัด. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2557;22(2):122-26.

ดลดาว ปูรณานนท์. บทบาทของสติในนักจิตวิทยาการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;28(1):14-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31