การเปรียบเทียบวิธีระงับความเจ็บปวดระหว่างการฉีดยาชาเข้าบริเวณรอยหักของกระดูกกับการให้ยาระงับความเจ็บปวดทางเส้นเลือดดำ ในขณะทำการดึงกระดูกเข้าที่ในผู้ป่วยกระดูกแขน ส่วนปลายหักในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย
คำสำคัญ:
การฉีดยาชาเข้าบริเวณรอยหักกระดูก, การฉีดยาระงับความเจ็บปวดเข้าเส้นเลือดดำ, กระดูกแขน ส่วนปลายหักบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ วิธีการระงับความเจ็บปวดระหว่างการฉีดยาชาเข้าบริเวณรอยหักของกระดูกกับการให้ยาระงับความเจ็บปวดทางเส้นเลือดดำ ในขณะทำการดึงกระดูกเข้าที่ในผู้ป่วยกระดูกแขนส่วนปลายหักในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย
รูปแบบการวิจัย : A randomized control trial: RCT, Prospective study
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกระดูกแขนส่วนปลายหักแบบปิด(Close fracture)จำนวน 36 คน Randomization methodเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 18 คน กลุ่มทดลองระงับความเจ็บปวดแบบวิธีฉีดยาชา(5 ml of 2%Lidocaine) เข้าบริเวณรอยหักกระดูก (Hematoma block : HB) และกลุ่มควบคุมได้รับการฉีดยาระงับความเจ็บปวดเข้าเส้นเลือดดำ(4 mg of morphine combine with 5 mg of diazepam)(Intravenous Anesthesia : IA) โดยทำการสุ่มแบบ Run สลับกัน ถ่วงน้ำหนัก 5-10 กก. ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นจึงดึงกระดูกเข้าที่พร้อมทั้งทำการตึงกระดูกด้วยการใส่เฝือกแบบสั้นใต้ศอก (Short arm cast) บันทึกระดับความเจ็บปวดก่อน และในขณะทำการดึงกระดูกเข้าที่ด้วย Visual Analogue Score (VAS) สังเกตอาการภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยก่อนกลับ 30 นาทีและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติ Independent samples testกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 95% Confidence interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลองพบว่า กลุ่มที่ระงับความเจ็บปวดแบบวิธีฉีดยาชาเข้าบริเวณรอยหักกระดูกมีคะแนนเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดมากกว่ากลุ่มที่ฉีดยาระงับความเจ็บปวดเข้าเส้นเลือดดำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดมากกว่ากลุ่มที่ฉีดยาระงับความเจ็บปวดเข้าเส้นเลือดดำเท่ากับ 2.17 คะแนน (95%CI; 1.64, 2.96)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วยกระดูกแขนส่วนปลายหักแบบปิดที่จะได้รับการดึงกระดูกเข้าที่และรักษาโดยการใส่เฝือกที่ระงับความเจ็บปวดแบบวิธีฉีดยาชาเข้าบริเวณรอยหักกระดูกสามารถลดระดับความเจ็บปวดได้ดีกว่ากลุ่มฉีดยาระงับความเจ็บปวดเข้าเส้นเลือดดำ และลดภาวะแทรกซ้อนได้
References
Woranuch A, Pinyo T, Sangkomkamhang T. Effect of Hematoma Block Combined with IntravenousDiazepam versus Hematoma Block in Closed Colles’ Fracture . The Thai Journal of Orthopaedic Surgery. 2019;43(3-4):3-7.
MaleitzkeT, Plachel F, Fleckenstein FN, Wichlas F,Tsitsilonis S. Haematoma block: a safe method for presurgical reduction of distal radius fractures. Journal of Orthopaedic Surgery and Research. 2020;15(351):1-6.
Orbach H, Rozen N, Rinat B, Rubin G.Hematoma block for distal radius fractures prospective, randomized comparison of two different volumes of lidocaine. Journal of International Medical Research. 2018;46(11):4535–38.
Tseng PT, Leu TH, Chen YW, Chen YP.Hematoma block or procedural sedation and analgesia, whichis the most effective method of anesthesia in reduction of displaced distal radius fracture?.Journal of Orthopaedic Surgery and Research. 2018;13(1):62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง