การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลบึงนคร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วิษณุพงษ์ จตุเทน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา การวางแผนการเฝ้าระวัง การดำเนินงานการประเมินผลและเผยแพร่การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลบึงนคร

รูปแบบการวิจัย : เป็นการศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research and Development Design )

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล จำนวน 64 คน ได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา วางแผนการดำเนินงาน ดำเนินการทดลองใช้ ประเมินผล สะท้อนข้อมูล ปรับปรุงการดำเนินงาน และเผยแพร่ผลงาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ percentage difference

ผลการวิจัย : หลังการพัฒนา พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ เพิ่มขึ้น 38.63% การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น 38.97%ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง เพิ่มขึ้น 22.00%ทัศนคติการเฝ้าระวัง เพิ่มขึ้น34.36% การปฏิบัติการเฝ้าระวัง เพิ่มขึ้น 20.15%ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข็ม 1 เพิ่มขึ้น 4.93% เข็ม 2 เพิ่มขึ้น 14.79% เข็ม 3 เพิ่มขึ้น 66.35%

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ข้างต้นไปขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาสู่ประชาชนในชุมชนชนบทพื้นที่อื่นๆ

References

กรมควบคุมโรค. กองโรคติดต่อทั่วไป. รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. นนทบุรี: กอง; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. ข่าวประชาสัมพันธ์ สถานการณ์โควิด-19 ร้อยเอ็ด[อินเตอร์เน็ต]. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.sasuk101.moph.go.th/203.157.184.6/news_info/view.php?id=6671

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. Data Center สถานการณ์วัคซีน[อินเตอร์เน็ต]. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sasuk101.moph.go.th/203.157.184.46/ret_vaccine/page-reports-vill.php?By=450520

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี. สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) ครั้งที่ 1/2564 9 ธันวาคม 2563. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี; 2563.

อเนก นนทะมาตย์. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

สิงขร ศรีสงคราม. การพัฒนาศักยภาพของประชาชนในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ : บ้านคอนสวรรค์ หมู่ที่ 15 ตำบลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. รวมบทความวิจัย การวัดผลและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์; 2543.

ดำรงค์ วัฒนา. การจัดทำยุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

อับดุลคอเล็ต เจะแต. กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านเกาะสวาด ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2555.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุดรธานี -UdonModel COVID-19.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(1):53-61.

ธวัชชัย ยืนยาว, เพ็ญนภา บุญเสริม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)หญิงในจังหวัดสุรินทร์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2563;35(3):555-64.

ดรัญชนก พันธ์สุมา, พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา.ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2564;36(5):597-604.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-25 — Updated on 2022-08-25

Versions