การพัฒนาระบบ และกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด 19 ในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ระบบและกลไก, การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค, โควิด 19บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนา และศึกษาประสิทธิผลของระบบและกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ในเครือข่ายสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี
รูปแบบการวิจัย :การวิจัยเชิงปฏิบัติการระดับเทคนิค (Action research: Technical action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย :ผู้ร่วมวิจัยปฏิบัติการประกอบด้วย ผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แพทย์ นักวิชาการ เครือข่ายฯ และผู้ป่วย/ญาติจำนวน 94 คน มีบทบาทในการร่วมวางแผนการลงมือปฏิบัติ การประเมินผล และการระบุการเรียนรู้ ระยะเวลาดำเนินงาน 10 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-ธันวาคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย :1)ระบบ และกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19ประกอบด้วยมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุข มาตรการการประชาสัมพันธ์ มาตรการด้านกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคมาตรการเตรียมความพร้อมทางการแพทย์และเครือข่ายสุขภาพทุกระดับ และมาตรการความร่วมมือและการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคของประชาชน ระบบและกลไกมีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี/ความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2)ประสิทธิผลของระบบและกลไก พบว่าการเฝ้าระวังและคัดกรองผู้ที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดอุบลราชธานีทั้งหมด 192,769 คนโดยพบในเดือนกรกฎาคม 2564 มีการเฝ้าระวังและคัดกรองผู้ที่เดินทางมากที่สุดจำนวน32,715 คน รองลงมาคือ เดือนธันวาคม31,903 คน และเดือนพฤศจิกายน29,400 คน ตามลำดับ และพบว่ามีแนวโน้มการเฝ้าระวังและคัดกรองผู้ที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดอุบลราชธานีเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8ในปีพ.ศ. 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่23,369 ราย ผู้เสียชีวิต 193 ราย ส่งต่อ 246 ราย และรับไว้รักษา 23,369 รายผู้ป่วยและญาติมีการรับรู้และพฤติกรรมการเกี่ยวกับการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของเครือข่ายสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
สรุปและข้อเสนอแนะ :ระบบและกลไกจากการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้เครือข่ายสามารถเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์การระบาดของโรคได้
References
กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค.คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: กรม; 2563.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2565.
กรมควบคุมโรค. กองโรคติดต่อทั่วไป. รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. นนทบุรี: กอง; 2564
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. กลุ่มงานควบคุมโรค. งานระบาดวิทยา.รายงานการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2563.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ).ข้อเสนอเพื่อการควบคุมวิกฤตโควิดระลอก 3 ในไทย[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ทีดีอาร์ไอ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/2021/05/the-third-wave-of-covid-19-policy-suggestions/
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP). รายงานผลการทบทวนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลก และในประเทศไทย.นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2563.
กรมควบคุมโรค.แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019[อินเทอร์เน็ต].นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_110864.pdf
Grundy S. Three modes of action research. Curriculum Perspectiv, 1982;12(3):23-4.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ดิษฐพล ใจซื่อ, และคนอื่นๆ. การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564[เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5427
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
นงณภัทร รุ่งเนย, เพ็ญแข ดิษฐบรรจง, ภคพร กลิ่นหอม, ศิริพร ครุฑกาศ, นภาภรณ์ เกตุทอง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด 19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2565;14(2):17-37.
SusmanGI,Evered RD. An Assessment of the Scientific Merits of Action Research. Administrative Science Quarterly.1978;23(4):582-603.
ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.
ธีรพร สถิรอังกูร, ศิริมา ลีละวงศ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล,ณิชาภา ยนจอหอ, กนกพร แจ่มสมบูรณ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2564; 30(2): 320-33.
ระนอง เกตุดาว,อัมพร เที่ยงตรงดี, ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี–Udon Model COVID-19.วารสารวิชาการสาธารณสุข.2564;30(1):53-61.
จอมรุจจิโรจน์ เหตุเกษ. กลยุทธ์ในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด – 19 ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ[การค้นคว้าอิสระ]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.
วรภัทร์อิงคโรจน์ฤทธิ์. รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ศูนย์พักฟื้นชั่วคราวสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19: กรณีศึกษาโครงการ CUVCareอาคารจุฬานิเวศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการสถาปัตยกรรมศาสตร์. 2563;70: 37-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง