การพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พัชนี สุมานิตย์ โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การบริการงานพยาบาล, ผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา  พัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอก และประเมินผลการพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

รูปแบบการวิจัย :  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research: Technical collaborative approach)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 24 คน ผู้รับบริการที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 236 คน และผู้รับบริการที่ใช้ในการทดลองใช้ระบบริการ จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติงาน บันทึกปฏิบัติการพยาบาลและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ 95% confidence interval (95% CI)

ผลการวิจัย :1)สถานการณ์ปัญหาพบว่า ผู้ให้บริการมีระดับการปฏิบัติต่อการพัฒนาจุดคัดกรองผู้ป่วย ห้องตรวจโรค และห้องบัตร และระยะหลังตรวจ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean =1.11, 95%CI; 1.08, 1.15) ส่วนผู้รับบริการความพึงพอใจต่อการพัฒนาจุดคัดกรองผู้ป่วย ห้องตรวจโรค และห้องบัตร และระยะหลังตรวจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=2.75, 95%CI; 2.72, 2.77) เช่นกัน 2)ผลการระบบบริการงานผู้ป่วยนอกประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ซึ่งเป็นมาตรฐานเชิงกระบวนการและมาตรฐานเชิงผลลัพธ์ตามแนวทางการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอกมาตรฐานการพยาบาลระยะก่อนตรวจ  ระยะตรวจระยะหลังตรวจ การส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว การพิทักษ์สิทธิผู้รับบริการ โดยแต่ละมาตรฐานแยกออกเป็นมาตรฐานย่อยรวม 7 มาตรฐานและ 3)หลังการพัฒนาพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean =4.26, 95%CI; 4.23, 4.28)

สรุปและข้อเสนอแนะ : สรุปได้ว่าการพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอกที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการของงานผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น

References

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

Research system public health institute. State hospital in the new look. Bangkok: Research Institute system public health press; 1999.

โรงพยาบาลกุมภวาปี. กลุ่มงานการพยาบาล. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2563.

โรงพยาบาลกุมภวาปี. กลุ่มงานการพยาบาล. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561.อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2561.

โรงพยาบาลกุมภวาปี. กลุ่มงานการพยาบาล. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. อุดรธานี: โรงพยาบาล; 2562.

Christ M, Grossmann F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern Triage in the Emergency Department. Dtsch Arztebl Int. 2010;107(50):892-98.

Yurkova I, Wolf L. Under-triage as a significant factor affecting transfer time between the emergency department and the intensive unit. J Emerg Nurs. 2011;37(5):49-6.

Mason EJ. How to write meaningful nursing standards. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1994.

Bertalanffy LV. General system theory: Foundations, Development, Applications. New York: George Braziller;1968.

ศรีพิจิตร ธาตุเพชร. เหตุผลของผู้มีบัตรประกันสุขภาพในการใช้บริการทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลชุมชนด้วยโรคที่สามารถรักษาได้ที่สถานีอนามัยในเขตอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.

อุเทน ปัญโญ. ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่; 2555.

Parasuraman A, Zeithaml VA, Berry LL. A conceptual model of service quality and its implication for future research. The Journal of Marketing. 1985;49(4):41-50.

ทรวงทิพย์ วงศ์พันธ์. คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการในงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

มนรดา แข็งแรง, ธิดาพร อินทรักษา, ทิวาพร จูมแพง. การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการในห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561:2(2);25-43.

Best JW. Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice–Hall; 1981.

นันท์ชญาน์ นฤนาทธนาเสฎฐ์. การพัฒนาสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนในห้องตรวจอายุรกรรมทั่วไป แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.2563;17(2):111-8.

ลัดดา อะโนศรี. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มงานผู้ป่วยนอก. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(2):186-91.

มนัสดา คำรินทร์. การประยุกต์ใช้ Lean Six Sigma ในการพัฒนาคุณภาพการบริการผู้ป่วยที่รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์สามัคคี โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562;16(3):109-115.

วราพร ยั่งยืนนาน, วิลาสินี นิสีดา, ศิริพร หล้ามงคล. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา. 2561;1(2):26-32.

พิศมัย ศรีสุวรรณนพกุล. การพัฒนากระบวนการจัดการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน[วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2555.

วันเพ็ญ ศุภตระกูล, อภิญญา ศักดาศิโรรัตน์, ดรุชา รัตนดำรงอักษร. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2559;10(4):234-47.

กิติศักดิ์ ด่านวิบูลย์, พิสิฐ อินทรวงษ์โชติ, มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์, เสาวลักษณ์ สัจจา. ประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการงานผู้ป่วยนอก และหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่าย โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2556;30(1):56-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30