การพัฒนาและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ลัคนา จันทร์แรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรคเบาหวาน, การดูแลตนเอง, กลุ่มเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนที่รับผิดชอบโดยศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย: การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิเคราะห์สังเคราะห์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การสร้างโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  การตรวจสอบคุณภาพและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ  การวิจัยระยะที่สองเป็นการทดลองใช้และประเมินผลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก จำนวน 66 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย: กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานทั้งหมด 66 คน เป็นชาย (56.7%) อายุเฉลี่ย 55 ปี สถานภาพสมรสคู่ (76.7%) จบการศึกษาระดับอนุปริญญา(41.7%) อาชีพแม่บ้าน (30.0%) รายได้ของครอบครัว 35,000 บาทต่อเดือน และดัชนีมวลกายเกิน (33.3%) หลังการพัฒนาพบว่า กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพมากกว่า  เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา (p < .001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.09 คะแนน (95% CI ; 1.02, 1.16) มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการ (p < .001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 8.43 คะแนน (95% CI ; 7.28, 9.58) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา  (p < .001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.65 คะแนน (95% CI ; 0.55, 0.74) ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีความเชื่อด้านสุขภาพ  ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น สามารถนำมาใช้ในการดูแลรักษากลุ่มเสี่ยงของเบาหวานแบบองค์รวมได้ และเพื่อประสิทธิผลที่ดีขึ้น ควรมีคนในครอบครัวของกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่ไว้ใจ ช่วยกำกับติดตามและแก้ไขอุปสรรคของพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงอย่างมีส่วนร่วมและต่อเนื่อง เพื่อการป้องกันและลดอัตราการป่วยเป็นโรคเบาหวานในอนาคต

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.) กลุ่มดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

ขนิษฐา พิศฉลาด, ภาวดี วิมลพันธุ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการจัดการตนเองดัชนีมวลกายและระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงระยะก่อนเบาหวานในชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(1): 47-59.

ดารณี ทองสัมฤทธิ์, กนกวรรณ บริสุทธิ์, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความสามารถในการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560; 28(1): 26-37.

ถนัต จ่ากลาง. ประสิทธิผลการจัดการสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560; 4(1): 151-62.

พรรนิภา ตุรงค์เรือง. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8 (2): 192-9.

พรพรรณ ลีลาศสง่างาม, จินตนา จุลทรรศน์ และสุภาพร ใจการุณ. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2562; 16 (1): 274-86.

พัชราวลัย วงศ์บุญสิน. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคสังคมเสี่ยงภัย มุมมองทางประชากรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตกรรมแห่งชาติ; 2554.

ยุคลธร เธียรวรรณ, มยุรี นิรัตธราดร, ชดช้อย วัฒนะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสียงโรคบาหวาน. พยาบาลสาร 2555; 39(2): 132-43.

เอกพลากร. รายงานการตรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 2551-2552. นนทบุรี: โรงพิมพ์เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์; 2553.

สมศักดิ์ มากกลิ่มกูล, พนิตารัชฎามาศ และนวลระหงษ์ ณ เชียงใหม่. การพัฒนารูปแบการป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2563; 6 (2): 178-81.

สุตาภัทร ประดับแก้ว. การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

สุรากรี หนูแบน, อารยา ปรานประวิตร, สาโรจน์ เพชรมณี. ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย 2559; 7(1): 101-14.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2558 สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560]. Gขถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf

สำรวย กัลยณี, ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม. ผลของการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุน ทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่. วารสารราชพฤกษ์ 2562; 17(2): 95-104.

อัมพร ไวยโภคา. การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสียงโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสันมะนะ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ 2556; 14(1): 82-94.

อรุณีย์ ศรีนวล. การประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

Bandara, A. Social Foundations of Thought and Action. New Jersey: Prentice-Hall, lnc. 1986.

Gould, J. Learning theory and classroom practice in the lifelong learning sector. (2nd ed). Exeter: Learning Matters. 2012.

International Diabetes Federation. Diabetes Atlas. Retrieved from www.diabetesatlas.ors. 2015.

Patricia M Kearney, Megan Whelton, Kristi Reynolds, Paul Muntner, k Whelton, Jiang He. Global burden of hypertension: analysis of worldwide data. THE LANCET 2005; 365(9455): 217-23.

Lorig KR, Holman HR. Self-management education: history definition, outcomes, and mechanisms. Ann Behav Med 2003; 26(1): 1–7.

Orem, D. E. Nursing Concept of Practice (4thed.). St Louis: Mosky Year Book. 1991.

Rosenstock, I.M. “The health belief model and preventive health behavior.” Health Education Monographs 1974; 12(2): 329-86.

Tongpeth J. Self-management promoting potential program on blood sugar control and Quality of life among diabetes mellitus type 2. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2013; 14(2): 69-78.

Wilcox, S. Fostering self - directed learning in the university setting. Studies in Higher Education 1996. 21(2): 165-176.

Williams, M.V., Baker, D.W., Parker, R.M.,&Nurss, J. R.. Relationship of functional Health literacy to patients' knowledge of their chronic disease. A study of patients With hypertension and diabetes. Arch Inter Med 1998; 158: 166-172.

World Health Organization. Governance: Updating Appendix 3 of the WHO Global NCD Action Plan 2013-2020 [Internet] 2018 [cited 2018 November 26]. Available from: http://www.who.int/ncds/governance/appendix3-update/en/

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01