ประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experiment design)
วัสดุและวิธีการวิจัย: ประชากรเป็นประชาชนที่มีภูมิลำเนาในตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ดที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นคู่มือ สื่อการเรียนรู้ จัดประชุมกลุ่ม กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง เน้น 3Self 3 อ.เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t-test
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงร้อยละ 82.1 อายุเฉลี่ย 50 ปี ประกอบอาชีพ ทำไร่/ทำนา ร้อยละ 90.0 สถานภาพการสมรสคู่ ร้อยละ 96.7 รายได้ของครอบครัวอยู่ในระดับพอใช้ ไม่เหลือเก็บ ร้อยละ 86.7 จบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา ร้อยละ 73.3 การรับรู้ความสามารถตนเอง เพิ่มขึ้น (p=.010) ส่วนการกำกับตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการทดลองลดลง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก ก่อนการทดลอง เท่ากับ 69.06 และหลังการทดลอง เท่ากับ 66.42 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักหลังการทดลองลดลง (p=.001) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (BMI) ก่อนการทดลอง เท่ากับ 29.19 และหลังการทดลอง เท่ากับ 28.04 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกาย (BMI) หลังการทดลองลดลง (p=.001) ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนการทดลอง เท่ากับ 109.68 และหลังการทดลอง เท่ากับ 102.01 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักหลังการทดลองลดลง (p=.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: จากข้อค้นพบดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ควรมีมาตรการชุมชนหรือกติกาชุมชนเข้ามากำกับหรือเป็นแนวทางปฏิบัติในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงจะยั่งยืน
References
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ชัย. งานวิชาการ. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2559. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ; 2561.
อังศินันท์ อินทรกําแหง. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self ด้วยหลัก PROMISE. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์; 2552.
Ray, W.J., & Ravizza, R. Methods toward a science of behavior and experience. Belmont, Cl : Wadsworth Publishing Company. 1988.
อังศินันท์ อินทรกำแหง และคณะ. ผลการบริหารจัดการและประเมินโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มโรคเมตาบอลิกของสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชนในกรุงเทพมหานคร.วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2553;16(2):96-112.
ประหยัด ช่อไม้. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 2558;10(1):15-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-03-15 (2)
- 2020-10-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง