การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • บุญทิพย์ นิ่มสอาด โรงพยาบาลพระยืน

คำสำคัญ:

แนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วย, สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต, หอผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระยืน  จังหวัดขอนแก่น

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วิธีดำเนินการวิจัย : ใช้ทฤษฎีระบบเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยทุกรายที่รับไว้ดูแลรักษาในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระยืน  ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม  2562  จำนวน 12 คน พยาบาลวิชาวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤหอผู้ป่วยใน แบบประเมินผลการปฏิบัติ และแบบสอบถามความคิดเห็น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย : แนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ อัตราการหายใจ ค่าร้อยละของออกซิเจนในเลือด ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว  อัตราการเต้นของหัวใจ ระดับความรู้สึกตัวและอุณหภูมิร่างกาย ผลการทดลองใช้แนวทาง พบว่า จากจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินตามแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต จำนวน 792  ราย พบอุบัติการณ์ Unplanned Refer จำนวน 3 ราย  (0.37%) รองลงมาเกิดอุบัติการณ์ Unplanned Tube จำนวน 1 ราย (0.12%) อุบัติการณ์ Unplanned CPR จำนวน 1 ราย (0.12%) และมีผู้ป่วยเสียชีวิต Unplanned Dead จำนวน 1 ราย  (0.12%) และพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย ส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุดในการที่แนวทางสามารถ Early detect อาการผิดปกติของผู้ป่วยได้ (33.33%)  รองลงมา คือแนวทางช่วยในการตัดสินใจหลังการประเมินผู้ป่วยว่าต้องตอบสนองและให้การช่วยเหลือในระดับใด (25.00%)  เห็นด้วยระดับมากที่แนวทางช่วยตัดสินใจหลังการประเมินผู้ป่วยว่าต้องตอบสนองและให้การช่วยเหลือในระดับใด ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง (66.66%)  และแนวทางสามารถ Early detect อาการผิดปกติของผู้ป่วยได้ และมีความพึงพอใจในการใช้แนวทางการประเมิน เฝ้าระวัง NEWS (58.33%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต ในหอผู้ป่วยในช่วยให้พยาบาลวิชาชีพสามารถประเมินอาการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต สามารถสื่อสารระหว่างทีมดูแลรักษา ผู้ป่วยได้รับการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ลดการเกิดอุบัติการณ์การส่งต่อที่ไม่ได้วางแผน การใส่ท่อช่วยหายใจ การช่วยฟื้นคืนชีพ และการเสียชีวิตโดยไม่ได้คาดหมายได้

ข้อสนอแนะ : ควรมีการใช้แนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต ในผู้ป่วยทุกราย เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายในภาวะวิกฤติ สามารถเฝ้าระวังอาการ รายงานแพทย์และให้การรักษาได้ทันท่วงที เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

World Health Organization, Regional Office for South-East Asia. Hospital Accreditation; 2014.

ประเวศ วสี. สุนทรียสนธนาวิกฤตความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์. นนทบุรี: โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2550.

โรงพยาบาลพระยืน. รายงานผลการดําเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพ เครือข่ายสุขภาพอำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; 2562.

Royal College of physicians. National Early Warning Score (News) standising The assessment of Acute-illness severity in NHS 2017.Search in. http://www.rcplondon.ac.uk/site/default/files/document/National-early-warning

กรรณิกา ศิริแสน. ประสิทธิผลของการใช้ระบบสัญญาณเตือนในการพยาบาลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.

แสงโสม ช่วยช่วง. ผลของการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) ในการประเมินและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยในห้องตรวจสวนหัวใจโรงพยาบาลตรัง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2561;29(1):72-83.

บุศกร กลิ่นอวล. ผลการใช้ Adult Early Warning Scoring System (MEWS) ของหน่วยงาน. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2557.

พิมพ์พรรณ ปั่นโพธิ์. ระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลง ซึ่งปรับตามบริบท (Modified Early Warning Score) ในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2555;2(2):166-77.

รัชนีย์ พิมพ์ใจชน. ผลของการใช้รูปแบบเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงและสัญญาณเตือนของผู้ป่วยต่อการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤติโดยไม่ได้วางแผน กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม. ชลบุรี: โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี; 2558.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. ผลของการใช้แนวทางการประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตต่อการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤติโดยไม่ได้วางแผนและอัตราการเสียชีวิตในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.

ตุลา วงศ์ปาลี และคณะ. ผลการใช้ MEWS ในการดูแลต่อเนื่องของหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤติและหอผู้ป่วยหนัก งานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์. เชียงใหม่: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01 — Updated on 2022-03-15

Versions