This is an outdated version published on 2020-10-01. Read the most recent version.

การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกชิเจนในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • beamor170286@gmail.com โรงพยาบาลเกษตรวิสัย

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติ, การป้องกันการเกิดภาวะขาดออกชิเจนในทารกแรกเกิด, การพัฒนาแนวปฏิบัติ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกชิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development Research)

วัสดุและวิธีการศึกษา:  กลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้คลอดและทารกแรกเกิด จำนวน 8 คน โดยพยาบาลเป็นผู้ใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดกับผู้คลอดและทารกแรกเกิด จำนวน 70 ราย ระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม  2562  ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด  สำหรับพยาบาลห้องคลอด โดยใช้กรอบแนวคิดของไอโอวาโมเดล 5 ขั้นตอน คือ 1) พิจารณาปัญหาทางคลินิก 2) ปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ 3) สืบค้นและทบทวนวรรณกรรม 4) ระบุผลลัพธ์ที่คาดหวัง 5) ดำเนินการพัฒนาและประเมินผล  การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย  แบบประเมินการปฏิบัติงานประจำวันมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ วิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามความพึงพอใจ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย และร้อยละ

ผลการวิจัย: จากการนำรูปแบบการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด จำนวน 70 ราย  การปฏิบัติตามรูปแบบการป้องกัน 93.3% และอัตราการเกิดภาวะการขาดออกซิเจนแรกคลอดเท่ากับ 14.3 ต่อพันการเกิดมีชีพ และความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติต่อรูปแบบการป้องกันการเกิดภาวะขาดอกซิเจนในทารกแรกเกิด  อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก

สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติเพื่อการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์  ส่งผลให้การป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดได้ดี และไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น จึงควรนำแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดไปใช้อย่างต่อเนื่อง และนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่นต่อไป

References

1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). รายงานการคลอดและการป่วยและตายของมารดา
และทารก ก.2. กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด.
2.โรงพยาบาลเกษตรวิสัย. (2561). รายงานการคลอดและการป่วยและตายของมารดาและทารก ก.2.
ห้องคลอด โรงพยาบาลเกษตรวิสัย.
3.ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก (Clinical Practice Guidelines Development)
วารสารการพยาบาล. 20 (2) : เมษายน-มิถุนายน 2548.
4.ฟองคำ ดิลกสกุลชัย. (2549). การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์:หลักการและวิธีปฏิบัติ.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
5. Stetler, C.B., (2001). Updating the Stetler Model of Research Utilization to Facilitate Evidenc Based
practice. Nursing Outlook, 49(6), 272-279.
6.Rosswurm, M.A. and Larrabee, J.H. (1999). A model for change to evidence –based practice.
Journal of Nursing Scholarship, 31(4), 317-322.
7. Soukup, S. M. “The center for advanced nursing practice evidence-based practice model”
Nursing Clinics of North America, 2000; 301-309.
8.กองทิพย์ ปินะกาโน. (2553). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มี
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่มารับบริการที่งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลปทุมรัตต์. รายงานการศึกษาอิสระ
ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
9.พวงเพชร ชูจอหอ. (2551). พัฒนาระบบการป้องกันการเกิดภาวะ Birth Asphyxia. กาฬสินธุ์:ห้องคลอด
โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์.
10.สมบุญ ธนบดีวิวัฒน์. (2549). การพัฒนาคุณภาพบริการงานห้องคลอด. วิทยานิพนธ์ปริญญา
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
11.เพชรรัตน์ สิงห์ช่างน้อย และวัลยา คุโรปกรณ์พงษ์. (2536) เทคนิคการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย
ทางการพยาบาล. สงขลา: [ม.ป.พ.].
12.วรรณวรา ไหลวารินทร์. การพัฒนาแนวทางป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารกองการพยาบาล. 41(3): กันยายน- ธันวาคม 2557; 43-62.
13.รจนา โมราราช .(2556).การพัฒนาแนวปฏิบัติการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยสูติกรรม
โรงพยาบาลสกลนคร. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
14.National Health and Medical Research Council [NHMRC]. A guide to the development,
Implementation and evaluation of clinical practice guidelines. [Online]. 1998 [cited 2019 Sep 2];
[30 screens]. Available from: http://www.health.gov.au/nhmrc/publication
15.นิตยา ใสศรี. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผิวหนังทารกเกิดก่อนกาหนด
ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
16.มนตรี ภูริปัญญวานิช. การพัฒนาคุณภาพงานบริการเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจน
ในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลเสนา. วารสารวิจัยและวิทยาศาสตร์การแพทย์.
22(2): เมษายน-มิถุนายน 2550; 75-81
17.เปรมยุดา ศรีสุข .(2558). การพัฒนาระบบบริการผ่าตัดคลอดเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจน
ในทารกแรกเกิด. งานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลละหานทราย.
18.วาณี ศรีภักดิ์ .(2557.) การพัฒนาประสิทธิภาพการดูแลผู้รับบริการคลอดและทารกแรกเกิดเพื่อลด
ภาวะ Birth Asphyxia.โรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

Versions