This is an outdated version published on 2020-10-01. Read the most recent version.

รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สมพงษ์ สุดขันธ์ โรงพยาบาลโพนทราย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด 

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  research design)

วิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอโพนทราย 21 คน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5 คน และคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) 9 คน ดำเนินการพัฒนาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึงกันยายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเป็นรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ  แบบสำรวจความต้องการจำเป็น และแบบประเมินการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและWilcoxon Signed Rank test

ผลการวิจัย:กระบวนการพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ แบ่งเป็น 10 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาความต้องการจำเป็น 2) การประสาน 3) เตรียมทีมงานวิจัย 4) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 5) การจัดทำแผนพัฒนา 6) การปฏิบัติตามแผน 7) ประชุมติดตาม 8) การสังเกตการณ์ 9) การนิเทศ ติดตามและประเมินผลและ10) สรุปผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และคณะกรรมการฯ มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำเพิ่มขึ้น (p = 0.001) และการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอเพิ่มขึ้น (p = 0.042)

สรุปและข้อเสนอแนะ: การศึกษาครั้งนี้มีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ทีมผู้นำที่เข้าใจบริบทและสภาพปัญหาของพื้นที่  กำหนดเป้าหมายชัดเจน กล้าและนำการเปลี่ยนแปลงอย่างเข้มแข็งร่วมกับบูรณาการการทำงานของภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

References

1.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ และสุรชัย โชคครรชิตไชย. การจัดบริการสาธารณสุขระดับอำเภอ: กรณีศึกษาพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 8 (1): มกราคม-เมษายน 2561; 152-161.
2.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทราย.(2561).รายงานผลการปฏิบัติราชการตามยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด.
3.เพลินใจ พฤกษชาติรัตน์. (2549). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา . วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).(2557).การจัดการเรียนเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System Management Learning: DHML). สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
5. Stringer, E.T. (1999). Action Research (2nd ed.). California: Sage Publications.
6. Burns, D. (2007). Systemic action research: A strategy for whole system change. Bristol, UK:The Policy Press.
7. Cochran-Smith, M. & Lytle, S. L. (2009). Inquiry as stance: Practitioner research in the next
generation. New York: Teachers College Press.
8. สมสมัย รัตนกรีฑากุล,อโนชา ทัศนาธนชัย,ชรัญญากร วิริยะและพรเพ็ญ ภัทรากร. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 8(3): กรกฎาคม-กันยายน 2558 ; 52-65.
9.พรสวรรค์ พรกาญจนวงศ์. รูปแบบการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System)
เขตสุขภาพที่ 12 ปี 2558 – 2560. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 33 (1) : มกราคม- มีนาคม 2562 ; 59-72.
10.นิฤมล กมุทชาติ. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
11.สันติ ฝักทอง. (2557). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของทีมบริหารจัดการในการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 84-85.
12. Tachaatig, S., & Wongarsa, W. (2012).Community well-Being development for healthy life. Journal of Humanities& Social Sciences, 29(2), 1-22.
13.Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass.
14. รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, ธมลวรรณ แก้วกระจก, วรรณรัตน์ จงเขตกิจ, ปิยะพร พรหมแก้ว, ดาลิมา สำแดงสาร และดลปภัฏ ทรงเลิศ. กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 11(1): มกราคม – มิถุนายน 2561; 231-238.
15.สุรีย์ภรณ์¬ เลิศวัชรสกุล และสุทธิพร ชมพูศรี. (2557). การศึกษากระบวนการจัดการการบริหารงานเครือข่ายสุขภาพอำเภออย่างเป็นเอกภาพ (Unity District Health Team) จังหวัดพะเยา. พะเยา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา.
16.เกศแก้ว สอนดี, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ผุสดี ก่อเจดีย์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ และภูวสิทธิ์ สิงห์ประไพ. การประเมินผลสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของศูนย์ประสานงานและจัดการเรียนรู้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 28(1): มกราคม- เมษายน 2561; 116-126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

Versions