การเข้าถึงบริการสุขภาพในจังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2558 - 2562

ผู้แต่ง

  • อารีย์ เพ็ญสุวรรณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การเข้าถึง, บริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด ปี 2558-2562

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)

วัสดุและวิธีดำเนินการวิจัย: เก็บรวบรวมข้อมูลการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน ในปีงบประมาณ 2558-2562 จากคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center – HDC)

ผลการวิจัย: การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน  ด้านการรับบริการประเภทการให้บริการในส่วนแผนกผู้ป่วยนอก แนวโน้มการมารับบริการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในส่วนการรักษาพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน แนวโน้มการมารับบริการเพิ่มขึ้น  ในส่วนการรับบริการด้านทันตกรรม แนวโน้มการบริการค่อนข้างลดลง  ส่วนการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน ด้านการรับบริการในแต่ละกลุ่มวัย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่  การบริการอนามัยแม่และเด็ก  การฝากครรภ์  การบริการวัคซีนให้แก่เด็ก  การคัดกรองพัฒนาการเด็ก  การคัดกรองสุขภาพในโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน  และการคัดกรองสุขภาพในผู้สูงอายุ 

สรุปและข้อเสนอแนะ: เพื่อให้การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนเป็นไปตามสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ ควรพัฒนาการให้บริการด้านทันตกรรม โดยจัดบริการช่วงเวลานอกเวลาราชการ การให้บริการเชิงรุกลงในพื้นที่ห่างไกล  และสนับสนุนส่งเสริมด้านงบประมาณ  พร้อมทั้งการกระจายบุคลากรให้ทั่วถึงแต่ละพื้นที่

References

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) ปี 2562. นนทบุรี: สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ; 2562.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง;2561.

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุขด้านคลังสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพ และคณะกรรมการจัดทำแนวทางการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ. รายงานแนวทางการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุขด้านคลังสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพ ระยะที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ความงดงาม 360 องศา ประชาพิจารณ์งานหลักประกันสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอพริ้น; 2559.

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ. รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสำหรับสนับสนุนการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01 — Updated on 2022-03-15

Versions