ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลางและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันภาวะแทรกซ้อนและความพึงพอใจของผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • ศิริมา พนาดร โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง, โปรแกรมการดูแล, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลางและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้ป่วย

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดก่อน-หลัง(Pretest – posttest Design)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยที่รับบาดเจ็บทางสมอง ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางไขสันหลัง และญาติผู้ดูแล จำนวน 24 คู่ ในระหว่างเดือน ตุลาคม 2561 ถึง มีนาคม 2562 ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลางและญาติผู้ดูแล ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้รับการดูแลด้วยโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง และญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินภาวะแทรกซ้อน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยการใช้ Wilcoxon signed Ranks test

ผลการวิจัย: 1) หลังการจำหน่าย 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยระยะกลาง มีคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.003) 2) หลังการจำหน่าย 3 เดือน กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยระยะกลางเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย ร้อยละ 4.16 3) หลังจำหน่าย 3 เดือน คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยระยะกลาง เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<.003)

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำโปรแกรมการดูแลฯ นี้ไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลมีความรู้และสามารถดูแลผู้ป่วยระยะกลางได้อย่างถูกต้อง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น

References

สุชาติ พุทธิเจริญรัตน์. (2554). การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านสำหรับบุคลากรสาธารณสุขปีงบประมาณ 2554. กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย.

จรรยา ทับทิมประดิษฐ์.(2547). ผลการเตรียมผู้ดูแลต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

วาสนา มูลฐี. (2558). ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาวะแทรกซ้อน และความพึงพอใจ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยมหิดล นครปฐม.

Naylor M., Brroten D., Campbell R., Maislin G., Mccauley K.,Schwartz J. Transitional care of older adults hospitalized with heart failure: A randomized, controlled trial. JAGS 2004 ;52(5): 675-84.

นพวรรณ ผ่องใส. ผลของการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านต่อความสามารถในการปกฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.วิทยานิพนต์ปปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Langhorne, P., Stott, D. J., Robertson, L.,MacDonald, J., Jones, L., McAlpine, C.,et al. (2000). Medical complications after stroke: A multicenter study. Stroke, 31(6), 1223-1229.

จรรจา สันตยากร. การจัดการดูแลโรคหลอดเลือดสมอในชุมชน แนวคิดและประสบการณ์การพยาบาลในชุมชน. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ตระกูลไทย; 2554.

ทศพร แสงรีจันทร์. การให้โปรแกรมความรู้และฝึกทักษะแก่ผู้ดูแลเพื่อลดความวิตกกังวลในการดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว.นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร.

ธัญลักษณ์ ขวัญสนิท. (2560). ผลการพัฒนา ระบบฟื้นฟูระยะกึ่งเฉียบพลันในผู้ป่วยหลอเลือดสมอง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน.

นงนุช เพ็ชรร่วง, ปนัดดา ปริยทฤต, วิโรจน์ ทองเกลี้ยง. การศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องในศูนย์สุขภาพชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก.14(1): 2556.

สวรินทร์ หงส์สร้อย, วัลภา คุณทรงเกียรติ, เขมารดี มาสิงบุญ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถผู้ดูแลอย่างต่อเนื่องต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลความสามารถในการทำกิจกรรมและการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1(1) : 2556; 77-89.

สุชาวดี เสนาสนะ. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สงขลา.

American Stroke Association. Impact of Stroke ( Stroke statistics). [ Internet ]. 2015. [ cited 2016 Fabuary 16 ]. Available from: http://www.strokeassociation.org/ STROKEORG/AboutStroke/Impact-of-Strokestatistics_UCM_310728_Article.jsp#. VsNY6_lYrcc.

Bureau of policy and strategy, office of the permanent secretary, ministry of public health. statistical Thailand 2013. [ Internet ]. 2013. [ cited 2016 Fabuary 16 ]. Available from: https://www.m-society.go.th/ewt_ news.php?nid=11378.

National Stroke Association. What stroke. [ Internet ]. 2015. [cited 2015 November 10]. Available from: http://www.stroke.org/understand-stroke/what-stroke.

Peeravet K. Stroke rehabilitation. In:CharnnarongN. editor. management of acute ischemic stroke. 3thed. Bangkok: Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Thailand; 2009. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01 — Updated on 2022-03-15

Versions