This is an outdated version published on 2020-10-01. Read the most recent version.

ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ผู้แต่ง

  • จิราพร คงทอง โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดก่อน-หลัง (Pretest – Posttest Design)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการคลินิกเบาหวานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทุ่งเขาหลวงและในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอทุ่งเขาหลวงที่มีระดับน้ำตาลในเลือด Hb c>7 ของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเลือดประจำปีในช่วงเดือน ตุลาคม 2561 – มกราคม 2562 จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพก่อน เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการติดตามประเมินผลจำนวน 3 ครั้ง ระยะเวลา 2 เดือนจึงทำการประเมิน ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ และประเมินระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ t-test

ผลการวิจัย: การศึกษาพบว่าค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพหลังการได้รับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เพิ่มมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม(p<0.001)โดยมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น  = 1.28 คะแนน   ( 95% CI : 0.98,1.57) ค่าคะแนนการเข้าถึงข้อมูลบริการสุขภาพ การจัดการตนเอง หลังการรับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีการเข้าถึงข้อมูลการบริการสุขภาพ การจัดการตนเอง เพิ่มมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม(p<0.001)โดยมีคะแนนการเข้าถึงบริการสุขภาพ การจัดการตนเองเพิ่มขึ้น = 0.73 คะแนน ( 95% CI : 0.53,0.92) ค่าคะแนนการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องหลังการได้รับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีคะแนนการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น(p=0.001)โดยมีคะแนนการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น = 0.23 คะแนน ( 95% CI : 0.9,0.38) ค่าคะแนนพฤติกรรมสุขภาพหลังการได้รับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น(p=0.003)โดยมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น = 0.27 คะแนน ( 95% CI : 0.09,0.45) เมื่อเปรียบเทียบค่าระดับน้ำตาล Hb A1c หลังการดีรับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีค่าน้ำตาลในเลือด Hb A1c ลดลง 0.1 จากผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า Hb A1c>7จำนวน 100 คน หลังการพัฒนามีค่า Hb A1c ลดลง โดยมีค่า Hb A1c<7 จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 40

สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ดต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

Versions