ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ผู้แต่ง

  • จิราพร คงทอง โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดก่อน-หลัง (Pretest – Posttest Design)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการคลินิกเบาหวานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทุ่งเขาหลวงและในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอทุ่งเขาหลวงที่มีระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c >7 ของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเลือดประจำปีในช่วงเดือน ตุลาคม 2561 – มกราคม 2562 จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพก่อน เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการติดตามประเมินผลจำนวน 3 ครั้ง ระยะเวลา 2 เดือนจึงทำการประเมิน ความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ และประเมินระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ร้อยละ t-test

ผลการวิจัย: การศึกษาพบว่าค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพหลังการได้รับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เพิ่มมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม (p<0.001)โดยมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น = 1.28 คะแนน (95% CI : 0.98,1.57) ค่าคะแนนการเข้าถึงข้อมูลบริการสุขภาพ การจัดการตนเอง หลังการรับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีการเข้าถึงข้อมูลการบริการสุขภาพ การจัดการตนเอง เพิ่มมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม (p<0.001)โดยมีคะแนนการเข้าถึงบริการสุขภาพการจัดการตนเองเพิ่มขึ้น = 0.73 คะแนน (95% CI : 0.53,0.92) ค่าคะแนนการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องหลังการได้รับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีคะแนนการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น (p=0.001)โดยมีคะแนนการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น = 0.23 คะแนน (95% CI : 0.9,0.38) ค่าคะแนนพฤติกรรมสุขภาพหลังการได้รับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น (p=0.003)โดยมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น = 0.27 คะแนน (95% CI : 0.09,0.45) เมื่อเปรียบเทียบค่าระดับน้ำตาล HbA1c หลังการได้รับโปรแกรมพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีค่าน้ำตาลในเลือด HbA1c ลดลง 0.1 จากผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่าHbA1c >7 จำนวน 100 คน หลังการพัฒนามีค่า HbA1c ลดลง โดยมีค่า HbA1c < 7 จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 40

สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ใน ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ดต่อไป

References

ฉัตรมณี แก้วโพธิ์, จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, วิรัติ ปานศิลา. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารโดยใช้อาหารแลกเปลี่ยนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อําเภอพระทองคํา จังหวัดนครราชสีมา.วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558;8(3):12-20.

สุรพล อริยะเดช. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของข้าราชการอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง.วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลปกเกล้า. 2558;29(3):205-16.

อรุณรัศมี บุนนาค, พรรณรัตน์แสงเพิ่ม, วีรยา จึงสมเจตไพศาล, ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล , วีนัส ลีฬหกุล. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและ การออกกำลังกายในเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2555;30(4):37-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01 — Updated on 2022-03-15

Versions