This is an outdated version published on 2020-10-01. Read the most recent version.

ผลของการให้ข้อมูลและการปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT ต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัว ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ศิริพร เผ่าภูธร โรงพยาบาลศรีสมเด็จ

คำสำคัญ:

การให้ข้อมูล, การปฏิบัติสมาธิบำบัดSKT, ความเครียด, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลและการปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT ต่อความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านกลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่แรกรับนอนโรงพยาบาลและภายหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล8 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 - กรกฎาคม 2561 จำนวน  44คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอศรีสมเด็จ  จังหวัดร้อยเอ็ด

วัสดุและวิธีการวิจัยการวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มประเมินความเครียดของผู้ดูแลก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม  โดยการให้ข้อมูลและการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัด เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์

วิธีดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่าง เป็นญาติ ผู้ดูแลโดยผ่านเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 44 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย:ประกอบด้วย แผนการให้ข้อมูลและแผนการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัดSKT2 และ 3 ปรับใช้จาก รศ. สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรีประกอบด้วย 1.การให้ข้อมูล 2.การปฏิบัติสมาธิบำบัดSKTประกอบด้วย การฝึกหายใจ การใช้เทคนิคผ่อนคลายประสานกายประสานจิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมของการทำกิจกรรมและความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ  3  ท่าน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแลในครอบครัวของ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่าน แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดสำหรับประชาชนไทย กรมสุขภาพจิตและแบบประเมินความพึงพอใจ ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือความตรงตามเนื้อหาและหาความเที่ยงหรือความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test).

ผลการวิจัย: ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่านมีคะแนนความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p< 0.05) และความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

สรุปและข้อเสนอแนะ:การให้ข้อมูลและการปฏิบัติสมาธิบำบัด SKTสามารถลดความเครียดของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเปลี่ยนผ่านได้และส่งผลให้เกิดความพึงพอใจ ถือได้ว่าเป็นบทบาทอิสระในการคิดบทบาทอิสระในการทำโดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เสนอแนะให้มีการจัดบริการสุขภาพผู้ป่วยและผู้ดูแลทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชนเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของญาติ  ทีมสหสาขาวิชาชีพควรมีการให้ข้อมูล เสริมพลัง ติดตามสนับสนุนญาติ ผู้ดูแลในครอบครัวอย่างต่อเนื่องทั้งระยะเปลี่ยนผ่าน/ระยะกลาง ระยะยาวเพื่อลดความเครียดให้สามารถดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคหรือภาวะอื่นๆในระยะเปลี่ยนผ่านได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

 

References

1.กนกพรรณ วัชระศักดิ์ศิลป์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร.
วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. 14(1) :มกราคม-เมษายน 2558 ; 23-34.
2.Hanchaiphiboolkul S,Poungvarin N,Nidhiandana S, et al. Prevalences of stroke and
stroke risk factors in Thailand : Thai EpidemiokogicStrokeStudy. J Med Assoc Thai.
94 (4) : October - December 2011;427-436 Thai.
3.กลุ่มงานหลักประกันสุขภาพยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์. (2560). รายงานบริการผู้ป่วยแยกตามโรค/ รายโรค.
4.เชิดชายชยวัฑโฒ. การศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. วารสารแพทย์เขต
4-5. 35(1) : มกราคม-เมษายน2559; 14-27.
5.จอม สุวรรณโณ. ความสามารถของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน
ก่อนจำหน่ายจาก โรงพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล. 18(3) : เมษายน-มิถุนายน 2546 ; 1-19.
6.บุญมี ภูด่านงัว. ทฤษฎีการ เปลี่ยนผ่านการประยุกต์ใช้ในการพยาบาลครอบครัว.วารสารสภาการพยาบาล.
28(4) : ตุลาคม-ธันวาคม 2556;107-120.
7.Naylor, S.G. An interpretation of family within Orem’s general theory of nursing.
Nursing Science Quarterly. 1989; 2(3) , 131 – 137.
8.บวรลักษณ์ ทองทวีและคณะ.ประสบการณ์ของสมาชิกครอบครัวในการดูแลบุคคลที่เจ็บป่วยด้วย
โรคหลอดเลือดสมอง : การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา.วารสารพยาบาล สงขลานครินทร์.
38(3): กรกฎาคม-กันยายน2561; 179-191
9.สมาธิบำบัด SKT ทางเลือกใหม่ไร้โรค[อินเตอร์เน็ต] [ เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม 2560] เข้าถึงได้
จาก http://synergyjiapan.com
10.วรัญญากรณ์ โนใจ.ผลการปฏิบัติสมาธิบำบัดเพื่อการเยียวยาแบบSKT ต่อระดับน้ำตาลในเลือด
ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน.วารสารพยาบาลทหารบก.19(3) : กันยายน-ธันวาคม2561; 175-184.
11.รสรณ์รดี ภาคภากร. (2557). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พาผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขภาพจิต, จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
12.กองการพยาบาล.แบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ ชุดทื่ 2ผู้รับบริการที่บ้านเข้าถึงทางอินเตอร์เน็ต
http://phn.bangkok.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=656%3A-
2562&catid=35%3Acategory-generalkm&Itemid=1 เมื่อ 28 มีนาคม 2562.
13.อรอุมา ปัญญโชติกุล,สุธินา เศษคงและสุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ์.ผลของสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับความดันโลหิตของผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง. 4 (2) พฤษภาคม-สิงหาคม :2560 ; 245-255
14.รสรินทร์เกรย์และสาลินี เทพสุวรรณ์.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุ.
วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 20(1) : มกราคม-มีนาคม2557 ; 205- 217.
15.ภาวิณี พรหมบุตร.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับความเครียดในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ที่บ้าน.วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร. 20(1) : มกราคม-เมษายน2557;82-96.
16.นงลักษณ์ บุญช่วย.ผลของการให้ความรู้และฝึกสมาธิบำบัดต่อความไม่สุขสบาย ความปวดและ
ความเครียดของผู้ป่วยมะเร็งทางเดินน้ำดีที่ได้รับการดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน อำเภอศรีสมเด็จ
5 พฤษภาคม 2559 เข้าถึงได้ทาง http://www.thaicam.go.th.
17.นิชธิมา ศรีจำนงค์และคณะ.ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของญาติผู้ดูแล
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ .26(1):
มกราคม-เมษายน 2553 ; 28-43.
18.นันทกาญจน์ ปักษี. ผลของโปรแกรมดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.รามาธิบดีพยาบาลสาร.
26(1) : มกราคม-เมษายน 2553 ; 28-43.
19.ประชุมพร กวีกรณ์และคณะ. รูปแบบการใช้สมาธิบำบัด SKT โดยครู ก เพื่อควบคุมความดันโลหิต
ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดยโสธร.วารสารสมาคมเวชสาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.
6(3) : กันยายน-ธันวาคม 2559 ; 221-232.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

Versions