This is an outdated version published on 2020-10-01. Read the most recent version.

ผลของกล่องสื่อสารอาการฉุกเฉินตามระดับความรุนแรง สำหรับญาติผู้ป่วยที่รอตรวจ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วิไลพร อะมะมูล และปฏิวัติ โอฆะพนม โรงพยาบาลปทุมรัตต์

คำสำคัญ:

กล่องสื่อสารอาการฉุกเฉินตามระดับความรุนแรง, อาการฉุกเฉินระดับความรุนแรง, ญาติผู้ป่วย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาผลของกล่องสื่อสารอาการฉุกเฉินตามระดับความรุนแรง  สำหรับญาติผู้ป่วยที่นั่งรอตรวจที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลปทุมรัตต์  จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย:  การวิจัยกึ่งทดลอง (Qua-si experimental research)

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ป่วยที่นั่งรอตรวจที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลปทุมรัตต์  จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 200 คน ที่ได้รับการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองโดยเทียบกับอัตราส่วนผู้มารับบริการให้ครบทั้ง 5 ประเภท  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยกล่องสื่อสารอาการฉุกเฉินตามระดับความรุนแรง และแบบประเมินผลของนวัตกรรมกล่องสื่อสารอาการฉุกเฉินตามระดับความรุนแรงที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และ Chi-square test      

ผลการวิจัย:  การรับรู้และความเข้าใจต่อการจัดระดับความรุนแรงและระยะเวลารอคอยการตรวจรักษาของญาติผู้ป่วยก่อนและหลังใช้กล่องสื่อสารอาการฉุกเฉินตามระดับความรุนแรงมีความแตกต่างกัน (p< 0.01)   ส่วนกลุ่มอาการเจ็บป่วยไม่มีความแตกต่างกัน

สรุปและข้อเสนอแนะ: กล่องสื่อสารอาการฉุกเฉินตามระดับความรุนแรงส่งผลให้ญาติผู้ป่วยมีการรับรู้และความเข้าใจต่อการจัดระดับความรุนแรงและระยะเวลารอคอยการตรวจรักษาเพิ่มขึ้น  ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ในงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน 

References

1. กลุ่มกฎหมายการแพทย์ฉุกเฉิน, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2561). รวมกฎหมายข้อบังคับระเบียบประกาศคำสั่งและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน. สมุทรปราการ: ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์การพิมพ์.
2. สำนักวิชาการแพทย์, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). MOPH ED. Triage. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์.
3. งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน.สรุปผลงานประจำปีงบประมาณ 2561. (2561).ร้อยเอ็ด:โรงพยาบาลปทุมรัตต์.
4. กฤตยา แดงสุวรรณ, ชฎาพร ฟองสุวรรณ, ซารีนา กาเซ็ง, เพลินพิศ ศรีชัย, เบญจพร จีนคง,
เรณุกา มะแซะและอรอนงค์ วรรณสกล. การรับรู้ข้อมูลของญาติผู้มารับบริการที่งานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์, วารสารนราธิวาสราชนครินทร์. (2) : 2555 ; 16-28.
5. เอกราช ดีเลิศ,พรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2558). ผลของนวัตกรรมการสื่อสารเรื่องภาวะโภชนาการเกินที่มีต่อความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติตนด้านโภชนาการของเด็กวัยประถมศึกษาตอนปลาย. งานประชุมวิชาการระดับชาติคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการสถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์: กรุงเทพมหานคร.
6. โสภาพันธ์ สอาด, การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านสุขภาพโดยใช้สื่อเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 26 (2) : พฤษภาคม-สิงหาคม 2558 ;41-49.
7. ณัฐนันท์ เกตุภาค, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร และอารีวรรณ กลั่นกลิ่น. ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร.
(3); 2554 ; 98-109.
8. วาโร เพ็งสวัสดิ์. วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 2551; 187-8.
9. จิตรประไพ สุรชิต. การรับรู้และความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลปากน้ำหลังสวนจังหวัดชุมพร, วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. (2): 2560; 271-8 .
10. พรรณี ชูชัย เจนจิต.จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อแกรมมี่จำกัด; 2538.
11. งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน.สรุปผลงานประจำปีงบประมาณ 2562. ร้อยเอ็ด:โรงพยาบาลปทุมรัตต์. 2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

Versions