This is an outdated version published on 2020-10-01. Read the most recent version.

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างเครื่อง Acucheck Instantกับเครื่อง Sysmex BX4000ห้องปฏิบัติการ คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง

ผู้แต่ง

  • กนิษฐา นิลผาย โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, POCT

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างเครื่องAccucheck  instantกับวิธีมาตรฐานคือเครื่องSysmex4000 และเปรียบเทียบต้นทุน ระยะเวลาในการรอคอยผลตรวจน้ำตาลในเลือด

รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง (  Experimental research)

วัสดุและวิธีการวิจัย: สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ผู้ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยและลงลายมือชื่อ ใช้ตัวอย่างเลือดดำที่แขนแบ่งตัวอย่างเลือดเป็น2 ส่วน ตรวจด้วยเครื่องชนิดพกพา Accucheck Instantกับเครื่องSysmex Bx4000  เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตรวจระดับน้ำตาลอดอาหาร 6 -8 ชั่วโมง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละของความผิดพลาด %CV  ร้อยละความคลาดเคลื่อน %bias ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่ามาตรฐาน(SD) และ paired  t- test

ผลการวิจัย: ค่าระดับน้ำตาลในพลาสมาของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 114 ราย  การวัดด้วยเครื่องตรวจมาตรฐานในห้องปฏิบัติการด้วยวิธีมาตรฐานมีค่า80-500 mg/dl และมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลคือ 151.8 mg/dl ระดับน้ำตาลในเลือดเครื่องตรวจห้องปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ย  155mg% SD. 66  ส่วนเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา มีค่าเฉลี่ย  151mg%  SD.  65  ผลความแม่นยำเครื่อง Accuchek Instant พบว่า  มี within run CVอยู่ในช่วงร้อยละ1.8 +3.5  และbetween-run CVเป็นร้อยละ1.4 + 2.8 มีค่าน้อยกว่า5 จากเกณฑ์  เมื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างเครื่องตรวจห้องปฏิบัติการ กับ เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา  พบว่าไม่แตกต่างกันทางนัยสถิติ ( P>0.05)และ ร้อยละของความผิดพลาดอยู่ระหว่าง 5.44-10.88 %  พบว่า  ค่า r=0.998 มีความสัมพันธ์กันดี ผลตรวจที่ได้จาก 2 เครื่องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันค่าเฉลี่ยความต่างทั้งสอง (Mean difference) 3.9mg/dLราคาต้นทุนต่อ 1 รายงาน ผลของเครื่อง Accu-chekInstanst ชนิดพกพาถูกกว่าเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติยี่ห้อ SYSMEX Bx 4000 อยู่ 16.31 บาท คิดเป็นร้อยละ69 และระยะเวลารอคอยผลตั้งแต่เจาะเลือดถึงออกผลต่อ1รายงานผล ใช้เวลาน้อยกว่า  คือ 26 นาที

สรุปและข้อเสนอแนะ:  จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สามารถใช้ค่าระดับน้ำตาลจากเครื่องตรวจชนิดพกพาเทียบเคียงกับเครื่องตรวจในห้องปฏิบัติการ เครื่องตรวจมีความถูกต้อง แม่นยำ และคุณภาพที่ดีอยู่เกณฑ์มาตรฐานราคาต้นทุนถูกกว่า ระยะเวลาในการรอคอยผลน้อยกว่าเครื่องมาตรฐานSYSMEX Bx4000 โดยใช้เพื่อการติดตามกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน  ซึ่งผู้เจาะเลือดจะต้องได้รับการอบรมการใช้เครื่องอย่างถูกวิธี และเครื่องจะต้องมีการเช็คสภาพให้เป็นไปตามข้อกำหนดการดูแลรักษาของบริษัท

References

1. Wild, Roglic, Green, Sicree, & King, 2004; World Health Organization [WHO],2007a
2. สุธร ตัณฑนันท์. (2548).
3. WHO, 2007b
4. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2553).
5.จันรา ทิผล วท.บ.(เทคนิคการแพทย์)ธัญลักษณ์ กัณฑิโกวิท วท.บ.(เทคนิคการแพทย์)วีวรรณ อาชีวะ วท.บ.(เทคนิคการแพทย์)ไพบูลย์ จันทสุทธิกุลปก.ศ.(เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์)การศึกษาความเที่ยงและความตรง (Precision and Accuracy) ของเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้วที่ใช้ตามหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระปกเกล้า
6.ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์. (2551). แนวทางการใช้ยาเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน.ชนิดที่สอง.
7.พรทิพย์ โล่เลขา. การตรวจวิเคราะห์ทางเคมีคลินิกเพื่อการวินิจฉัย ติดตาม ควบคุม และการรักษาโรคเบาหวาน. J MedTechAssoe Thai 1990 ;18:976-8
8.วิชัย เอกพลากร. มหันตภัยเบาหวาน .หมอชาวบ้าน 26(303): ก.ค.2549 ; 12-15.
9.วิมลรัตน์ จงเจริญและคณะ. (2551). การส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย
เบาหวานชนิดที่2. สงขลานครินทร์เวชสาร. 1(26) : ม.ค.-ก.พ. 2551.
10.สุทิน ศรีอัษฏาพร,วรรณี นิธิยานันท์,บรรณาธิการ. (2548). โรคเบาหวาน.กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

Versions