ผู้ป่วยวัณโรคติดเชื้อรายใหม่ที่ได้รับ First Line Drug ในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
คำสำคัญ:
วัณโรค, ผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่, การใช้ ยาต้านวัณโรค First line drugบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ที่เข้ารับการรักษาและเพื่อศึกษาผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยาต้านวัณโรค (First line drug) ในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: ประชากรศึกษาเป็นผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคโดยใช้ยาต้านวัณโรคชนิด First line drug จำนวน 671 ราย โดยศึกษาข้อมูลจากงานเวชระเบียนและแบบบันทึกข้อมูลผลการตรวจเสมหะเพาะเชื้อวัณโรค ของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ในคลินิกวัณโรคแผนกผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ตั้งแต่ปี 2559-2562 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยวัณโรคติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 671 ราย ส่วนใหญ่ เป็นชาย (68.15%) มีอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป (35.03%) มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ (56.18%) ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวหรือโรคร่วม คือเบาหวาน รองลงมาเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผลข้างเคียงจากการใช้ First line drug ได้แก่ เป็นผื่นตามผิวหนัง (16.56%) มีตับอักเสบ (7.64%) และข้ออักเสบ (Arthritis) 3.18%
สรุปและข้อเสนอแนะ: การรักษาวัณโรคที่ได้รับ First line drug ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับผลข้างเคียงคือเป็นผื่นตามผิวหนังในร่างกาย และมีผู้ป่วยจำนวนมากเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาที่ส่งผลให้ผู้ป่วยบางราย ปฏิเสธการทานยาต้านวัณโรค ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะดื้อยาตามมาภายหลังได้ จึงควรปรับสูตรยาให้มีความเฉพาะต่อบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญควรให้ความรู้การสร้างเสริมสุขภาพ วิธีการป้องกัน และการรักษาที่ถูกต้อง
References
Global tuberculosis report 2012. Geneva: World Health Organization. Available at: http://www.who.int/tb/publications/global_report/en/, Retrieved March 10, 2018.
เฉวตสรร นามวาท และคณะ. ความคุ้มค่าการลงทุนเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย:การวิเคราะห์ ต้นทุน-ผลได้. สำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก กรมควบคุมโรค, 2560
ราเมศ คนสมศักดิ. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อโรงพยาบาลสมเด็จ พระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย.วารสารเชียงรายเวชสาร. 2560;9(1):19-27.
สมพร ขามรัตน์และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 2558;22(1) .
ศรีรัตนา อินทรักษ์. การศึกษาสถานการณ์และปัญหาการแยกผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่กระจายเชื้อโรงพยาบาลสระบุรี.
กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. สถานการณ์การป่วยเป็นวัณโรคของบุคลากรในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดตาก.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.2560;11(2):286-96.
อมรรัตน์ วิริยะประสพโชค. ลักษณะและผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคจากเรือนจำ และผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป ใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560;11(2):277-376.
Mehran Shokr, et al. The frequency of risk factors for pulmonary tuberculosis in tuberculosis patients in Babol, Northern Iran, during 2008-2015. Current Issues in Pharmacy and Medical Sciences. 2018;31(4):1444-78.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรคแนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. National Tuberculosis control Programme Guidelines, Thailand 2018 .กรุงเทพฯ , 2561.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. การคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา. กรุงเทพฯ , สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์;2561:27-9.
Banu Eris- Gu¨lbay, et al. Side effects due to primary anti tuberculosis drugs during the initial phase of therapy in 1149 hospitalized patients for tuberculosis. Respiratory Medicine ,Elsevier L ;2006 :1834–42.
อัชราภร เกษมสายสุวรรณ, มธุรส ทิพยมงคลกลุ, ดุสิต สุจิรารัตน์, เจริญ ชูโชติถาวร . อุบัติการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของยากับอาการไม่พึงประสงค์ของยาต้านวัณโรคชนิด First-line ในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ในโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดนนทบุรี (เอกสารการประชุมวิชาการ),กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
สุพพัตธิดา แสงทอง,จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, สุพัตรา บัวที. ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการอาการต่อการรับรู้อาการและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยวัณโรคปอด.วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556;31(4):105-14.
พงศ์เทพ ธีระวิทย์. วัณโรคปอด (Pulmonary tuberculosis). หน่วยโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤติ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดี. ค้นเมื่อ 12 ธ.ค.62 จาก https://med.mahidol.ac.th/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-03-03 (2)
- 2020-02-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง