การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์การเรียกใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ บ้านม่วงน้อย ตำบลท่าหาดยาว อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พรสุดา กาญจนลาภ**, ชนกเนตร ไกรยบุตร** โรงพยาบาลโพนทราย

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาประชาสัมพันธ์, การเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อสร้างและศึกษาผลการใช้รูปแบบการประชาสัมพันธ์ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่บ้านม่วงน้อย ตำบลท่าหาดยาว อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย:  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข   แกนนำชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข และประชากรบ้านม่วงน้อยที่มีอายุ15 ปีขึ้นไป คุณสมบัติเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก จำนวน 112 คน โดยรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่มีคุณภาพและได้ผ่านการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์คัดเข้าคัดออก

ผลการวิจัย: พบว่าตามวัตถุประสงค์ มี 2 แบบ

1.รูปแบบการประชาสัมพันธ์ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่บ้านม่วงน้อย ตำบลท่าหาดยาว อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย

              1.ประชุมแผน

              2.กำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

              3.พัฒนาผู้นำชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีความมั่นใจในการประชาสัมพันธ์ด้านการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยการสนทนากลุ่ม

  4.จัดทำคู่มือและเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเรียกใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น หอกระจายข่าว ติดป้ายไวนิลร้านค้าชุมชน ศาลาประชาคมของหมู่บ้าน

5.การประเมินผล

2.ผลการนำรูปแบบไปใช้ พบว่ามีการรับรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 79.61% มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 88.73%

สรุปและข้อเสนอแนะ: การวิจัยครั้งนี้หน่วยปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์การเรียกใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน,การให้ข้อมูลด้านการรับรู้บริการการแพทย์ฉุกเฉินกับประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งควรมีการจัดตั้งหน่วยบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของกู้ชีพให้ครบทุกตำบล

References

1.นิสิต บุญอะรัญ.ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด.โรงพยาบาลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด; 2558.
2.นริสสา พัฒนปรีชาวงศ์,รัญชนา สินธวาลัย,นภิสพร มีมงคล.การพัฒนารูปแบบการดำ เนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล.ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.
3.รักษ์นรินทร์ แก้วมีศรี,ธรรมพร หาญผจญศึก,นันท์นภัส สุจิมา,วธุสิริ ฟั่นคำอ้าย, สุปราณี ใจตา,ปัณณพัฒน์ คำตุ้ย,เปรมรวิทย์ เสนาฤทธิ์,นิตยา บุญมูล.การพัฒนารูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในบริบทชุมชนภายใต้สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.); 2560.
4.เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา. พัฒนาหน้างานประจำก้าวนำสู่นโยบายการแพทย์ฉุกเฉิน.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.); 2560.
5.กัญญา ธรรมสุนา.การรับรู้และความคาดหวังต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของประชาชนพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ ปี2559. งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพรเจริญ; 2559.
6.กรกฏ อภิรัตน์วรากุล. การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28