ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการติดเชื้อทั่วร่างกายของผู้ป่วย Melioidosis ในโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันต์ ปิยะพงษ์กุล โรงพยาบาลหนองหาน

คำสำคัญ:

อัตราความชุก, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, อาการติดเชื้อทั่วร่างกาย, โรคเมลิออยด์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการติดเชื้อทั่วร่างกายของผู้ป่วยโรค  เมลิออยด์

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study)

วัสดุและวิธีการวิจัย: ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2558-ธันวาคม 2562ในโรงพยาบาลหนองหาน จำนวน 221 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนรายงาน 506 และ 507 ของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานสำหรับการหาความสัมพันธ์ด้วยChi-square test และ Fisher exact test  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการวิจัย: พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 221 ราย เป็นชาย 64.3%  อายุ 25-59 ปี 55.0% เฉลี่ย 52 ปี (SD=16.51)มีโรคร่วม 69.8% โดยเฉพาะโรคเบาหวาน 36.5% อัตราความชุกของโรคตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2562 เท่ากับ71.15, 47.85, 24.72, 25.50 และ 14.07 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ พบผู้ป่วยตลอดทั้งปี พบมากที่สุดในช่วงฤดูฝน  ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานเป็นโรคร่วมและมีอาการติดเชื้อเฉพาะที่ (Local infected) มีความสัมพันธ์กับอาการติดเชื้อทั่วร่างกายของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ (p =0.14, <.001) ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นถึงการเฝ้าระวังโรค ควรดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและอาการอย่างต่อเนื่อง และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคร่วมโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อเฉพาะที่ (Local infected)

References

1.Limmathurotsakul,D., Thammasart, S., Warrasuth, N., Thapanagulsak, P., Jatapai, A., Pengreungrojanachai, V., Anun, S., Joraka, W., Thongkamkoon, P., Saiyen, P., Wongratanacheewin, S., Day, N.P.J. and Peacock, S.J. Melioidosis in animals, Thailand 2006–2010. Emerg Infect Dis. 2012; 18(2): 325- 7.
2. Paveenkittiporn W, Paveenkittiporn W, Apisarnthanarak A, Dejsirilert S, Trakulsomboon S, Thongmali O, et al. Five-year surveillance for Burkholderiapseudomallei in Thailand, 2000-2004: Prevalence and antimicrobial susceptibility. J Med Assoc Thai 2009; 92: S46-52.
3. โรงพยาบาลหนองหาน. รายงานผลการปฏิบัติราชการของโรงพยาบาลหนองหาน. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ โรงพยาบาลหนองหาน. จังหวัดอุดรธานี; 2563.
4.ศูนย์วิจัยโรคเมลิออยโดสิส มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานประจำปี 2552 [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น; 2552 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.melioid.org
5.Currie BJ, Fisher DA, Howard DM, et al. Endemic melioidosis in tropical northern Australia: a 10-year prospective study and review of the literature. Clinical infectious diseases. 2000; 31: 981-6.
6.Chetchotisakd P, Porramatikul S, Mootsikapun P, Anunnatsiri S, Thinkhamrop B. Randomized, double-blind, controlled study of cefoperazone-sulbactam plus cotrimoxazole versus ceftazidimepluscotrimoxazole for the treatment of severe melioidosis. Clinical infectious diseases. 2001; 33: 29-34.
7. พัชรสาร ลีนะสมิต. Melioidosis.หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร. [เข้าถึงเมื่อวันที่25 พฤษภาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.med.swu.ac.th/Internalmed/ images/ documents/handout/ID/ PL/melioidosis_handout.pdf
8. สุภาภรณ์ พัวเพิ่มพูลศิริ. แบคทีเรียวิทยาของเชื้อ Burkholderiapseudomalleiและการเพาะเชื้อ.
ใน: เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์, (บรรณาธิการ). โรคเมลิออยด์. นนทบุรี: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2546.
9. ภาสินี ม่วงใจเพชร และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยด์ จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2562; 26(2): พฤษภาคม - สิงหาคม 2562.
10.พรพรรณ สุนทรสุต, วิลาสินี ธงกลาง, ธิดารัตน์ โพธิศรี เมรี ชื่นจิตร, สุดรัตน์ ดาละบุตร, วิริยา ห่านตระกูล และ ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล. โรคเมลิออยโคสิสจากการสัมผัสดินหรือน้ำ ป้องกันด้วยใส่บูทยาว ดื่มน้ำต้มสุก. หน่วยวิจัยมหิดล-อ๊อกฟอร์ด คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล. 2561.
11.ปิยธิดา สุจริตพงษ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และเกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยด์ในผู้ป่วยโรคเมลิออยด์โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557; 7(1): 80-6.
12.Chaowagul W, White NJ, Dance DA, et al. Melioidosis: a major cause of community Acquired septicaemia in northeastern Thailand. J Infect Dis. 1989; 159: 890-899.
13.Limmathurotsakul D, Peacock SJ. Melioidosis: a clinical overview. British medical Bulletin. 2011; 99: 125-139.
14.พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล. เมลิออยด์ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พ.ศ. 2547-2550. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต. 2552; 30(2): 112-25.
15.Currie J, Fisher A, Diane M, Howard.Endemic Melioidosis in Tropical Northern Australia: A 10-Year Prospective Study and Review of the Literature. Clin Infect Dis [serial online] 2000; 31: 981-6. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563].เข้าถึงได้จาก https://www ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/ 11049780
16.เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์. โรคเมลิออยโดสิส. นนทบุรี: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง. 2546.
17.สถิต สิริสิงห, ธารารัชต์ ธารากุล, วิภาดา เชาวกุล, สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน. รายงานโครงการวิจัย Melioidosis: A national problem. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28