การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ถนอมจิตร พรมเกตุ โรงพยาบาลเมยวดี

คำสำคัญ:

รูปแบบการส่งเสริมความเชื่อมั่น, อาสาฉุกเฉินการแพทย์, การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์

รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research )

วัสดุและวิธีการวิจัย: เป็นการนำรูปแบบการส่งเสริมความเชื่อมั่นไปปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและติดตามประเมินผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมความเชื่อมั่นนี้ในการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่อำเภอเมยวดี  จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ให้ข้อมูลคืออาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (Emergency Medical Responder :EMR) จำนวน 32 คน ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม 2562  ถึง  มกราคม 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาภายหลังการพัฒนาผ่านกระบวนการ 2 รอบ ได้รูปแบบการส่งเสริมความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของอาสาฉุกเฉินการแพทย์

ผลการวิจัย: ผลของการนำรูปแบบไปใช้พบว่า อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์มีความมั่นใจ มีรูปแบบการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และมีแนวทางในการปฏิบัติงานเป็นไปทิศทางเดียวกัน มีการขอความช่วยเหลือจากช่องทางสายด่วน ER เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลง ทำให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่รวดเร็ว ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ลดความเสี่ยงที่จะพิการและเสียชีวิต อาสาฉุกเฉินการแพทย์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งเสริมความเชื่อมั่นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

สรุปและข้อเสนอแนะ: จากการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วย ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจ ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าควรติด รูปแบบการส่งเสริมความเชื่อมั่นไว้ในจุดที่มองเห็นง่ายและอยู่ในจุดที่ปฏิบัติงานประจำ เนื่องจากการมองเห็น การอ่าน การปฏิบัติตาม จะทำให้เกิดความชำนาญ

References

1. วิสาร เตชะธีราวัฒน์.บริหารจัดการสาธารณภัย.นนทบุรี,2555
2. กระทรวงสาธารณสุข.สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ 2560.
3. ไพบูลย์ สุริยวงศ์ไพรศาล.ชุดโครงการวิจัยเพื่อการประเมินและพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน.สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย(สวปก)และเครือข่ายสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.),2552
4. วิทยา ชาติบัญชาชัย และคณะ.คู่มือการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น:โรงพยาบาลขอนแก่น; 2547.
5. นิพนธ์ จันทรเวทย์ศิริ.ผลสัมฤทธิ์ของโครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดอุบลราชธานี.[วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
6. สำนักงานสาธารณสุขมหาสารคาม.ข้อมูลการปฏิบัติงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2548-2550. จังหวัดมหาสารคาม; 2551
7. ระบบสารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2562 [เข้าถึงเมื่อ17 พฤษภาคม 2562]เข้าถึงได้จาก: https://ws.niems.go.th/items_front/index.aspx
8. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ITEMS [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤษภาคม 2562] เข้าถึงได้จาก: https://ws.niems.go.th/ITEMS_DWH/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28