การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac arrest) สำหรับอาสาสมัครกู้ชีพตำบลของอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุปราณี โสดถานา โรงพยาบาลพนมไพร

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แนวทางการดูแลและการรักษา, ผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน, อาสาสมัครกู้ชีพตำบล(EMR)

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยและรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันของอาสาสมัครกู้ชีพตำบล อำเภอพนมไพรจังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครกู้ชีพตำบลพนมไพรตำบลละ 1 ทีม ทั้ง 13 ตำบล จำนวน 39 คนพัฒนาและเก็บรวบรวมข้อมูลเดือน มี.ค.2562 ถึง ก.ย.2562 จากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบประเมินทักษะการปฏิบัติ ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: พบว่าก่อนการศึกษายังไม่มีรูปแบบในการสร้างเสริมสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันของอาสาสมัครกู้ชีพตำบลที่ชัดเจน หลังการพัฒนาตามกระบวนการ 2 วงรอบ ได้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะแนวทางการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันของอาสาสมัครกู้ชีพตำบลอำเภอพนมไพร ในรูปแบบ NCPG การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ครอบคลุมทั้ง 3 ขั้นตอน คือการประเมินผู้ป่วย,การประสานขอความช่วยเหลือ,การดูแลผู้ป่วย ณ.จุดเกิดเหตุและการนำส่ง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทุกคนเห็นว่า แนวทางนี้เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เนื่องจากสะดวก เข้าใจง่าย และมีความชัดเจน ความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุดเพิ่มขึ้นจากเดิม  73.98% เป็น 88.24%  การประเมินทักษะการปฏิบัติการ ใน 3 ขั้นตอนพบว่า การประเมินผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก 98.46%  เป็น 98.96%  การร้องขอความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นจาก 95.73%  เป็น 99.12%  และการช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐานเพิ่มขึ้นจาก 85.26%  เป็น 98.09%  และผลงานตามตัวชี้วัดผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมาด้ายระบบ EMS และ CPR สำเร็จ เพิ่มขึ้นจากเดิม 22.46%  เป็น 38.09%

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย:การพัฒนาแนวทางดูแลผู้ป่วยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลและการรักษาได้เร็วตามมาตรฐาน มีทักษะการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ได้ตามมาตรฐาน อาสาสมัครกู้ชีพตำบลมีความพึงพอใจ  เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและญาติ

References

1.งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพนมไพร. สรุปผลงานงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลพนมไพร; 2561 .
2. Kemmis, S. and McTaggart, R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.
3. Soukup M. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am 2000 ; 35, 301-309.
4. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.คู่มือปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลสำหรับชุดปฏิบัติการทุกระดับ.กรุงเทพฯ: อัลทิเมท พริ้นติ้ง; 2560.
5.ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์. เพื่อศึกษารูปแบบและผลของรูปแบบการพัฒนาความรู้และทักษะการบริการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครกู้ชีพ.2557
6. Sankar, M., Bailey, R., & Williams, B . Doing action research. Community Eco-nomic Development Action Research(CEDAR)Project . New Zealand : Department of Labour; 2005.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28