ผลของโปรแกรมเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังในการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานในชนิดที่ 2 ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศรินทร์ลักษณ์ แดงด้อมยุทธ์

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, โปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน, ระดับน้ำตาลในเลือด, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง

วัสดุและวิธีการ : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน รวม 60 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมเยี่ยมบ้านตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมการการเยี่ยมบ้านแบบเสริมพลังในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อบรรยายลักษณะของข้อมูล และเพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมใช้ สถิติIndependent t-test และ paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัย : หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้การเสริมพลัง และการปฏิบัติตนของผู้ป่วยเบาหวานสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001, 95%CI=0.79, 1.31 และ p<.001, 95%CI=0.22, 0.58 ตามลำดับ) และระดับน้ำตาลในกลุ่มการทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p=.022, 95%CI=1.68, 21.04)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการแนะนำโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้านแบบเสริมพลังเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและเป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มอื่น ๆ

References

1.World Health Organization.DM data and statistics ;2017 [Accessed data January 10, 2018]. Available from : http://www.who.int
2.สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารข้อมูล: สถานการณ์โรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนในประเทศไทย. นนทบุรี. ม.ป.พ.
3.สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์. 2557.
4.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย. 2560.
5.ปัทมาภรณ์ พรหมวิเศษ และคณะ. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลหลักต่อการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาววัยก่อนเรียนที่บ้าน. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข. 2556; 27(1): 88-101.
6.จุฑารัตน์ รังษา. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจของผู้ผู้ดูแลและผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
7.ครสวรรค์ คำแก้ว. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ในโรงพยาบาลเชษฐาธิราช นครหลวงเวียงจันทร์. [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559.
8.จันทร์ฉาย จารนัย, ผจงจิต ไกรถาวร และนพวรรณ เปียชื่อ. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวโดยใช้รามาโมเดลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ภาวะโภชนาการ และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชน. วารสารเกื้อการุณย์. 2559; 23(1): 41-59.
9.อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยาคม; 2553.
10. ยุวดี รอดจากภัย, สมพล กิตติเรืองเกียรติ และประสิทธิ์ กมลพรมงคล. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.2555; 7(2): 116-23.
11.จุรีรัตน์ เจริญจิตต์. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยการพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี.2556; 14(1): 32-43.
12. สุริยาภรณ์ อุทรักษ์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28