ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2, โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, การดูแลต่อเนื่องที่บ้านบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจและการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ต่อกัน 1 ปีขึ้นไป ที่มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด
(HbA1c) ≥ 7 mg % จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดก่อน-หลัง ติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้านเป็นรายบุคคล โดยใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson คือ การค้นหาปัญหา การสร้างความตระหนักในปัญหา การมีส่วนร่วมตัดสินใจและเลือกแนวทางปฏิบัติ และ การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ และติดตามประเมินความต่อเนื่องของการปฏิบัติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 – เดือนเมษายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ ค่าเฉลี่ย ก่อนและหลังการศึกษาเกี่ยวกับความรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติและระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด(HbA1c) โดยใช้ Paired sample t – test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัย: หลังการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมดีขึ้นทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) ส่วนค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด(HbA1c) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น เกิดความตระหนักในปัญหาสุขภาพของตน มีส่วนร่วมในการเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับสุขภาพและสอดคล้องกับบริบทของตนเอง ทำให้เกิดการปฏิบัติปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย จึงควรนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นต่อไป
References
2.ทักษพล ธรรมรังสี. รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม. นนทบุรี: สำนักวิจัย นโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (International Health policy Program); 2557.
3.ปรีดา กังแฮและคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการตนเองต่อความรู้พฤติกรรมและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง; 2557.
4.อัมพิกา มังคละพฤกษ์. ผลการบริโภคข้าวเหนียวต่อการควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่2 ในประชากรภาคเหนือของประเทศไทย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
5.สมหวัง ซ้อนงามและคณะ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่มีผล HbA1C มากกว่า 7 ของอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก; 2556.
6.หรรษลักษณ์ แววบุตร. การประยุกต์ใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์.[วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง